Description
นิ่วในถุงน้ำดี
- นิ่วในถุงน้ำดี เป็นชิ้นส่วนแข็งที่เกิดขึ้นในถุงน้ำดี เกิดขึ้นเมื่อส่วนประกอบของน้ำดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งโคเลสเตอรอล และบิลิรูบิน (สารให้สีในน้ำดี) ตกตะกอนผลึกเป็นก้อน อาจมีขนาดเล็กเท่าเม็ดทราย หรือใหญ่เท่าลูกกอล์ฟ และอาจมีได้ตั้งแต่หนึ่งก้อนจนถึงหลายร้อยก้อนก็เป็นได้
อาการนิ่วในถุงน้ำดี
- มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงโดยเฉพาะบริเวณช่วงท้องส่วนบน หรือด้านขวา
- มีอาการปวดอย่างฉับพลัน และกระชับขึ้นอย่างรวดเร็วตรงกลางช่องท้องใต้ลิ้นปี่
- มีอาการปวดหลังบริเวณระหว่างไหล่
- มีอาการปวดร้าวไปยังบริเวณกระดูก หรือบริเวณไหล่ด้านขวา
- มีอาการคลื่นไส้ , อาเจียน
- มีอาการปวดท้อง อาจมีระยะเวลาปวดตั้งแต่ 15 นาที ถึงหลายชั่วโมง
สาเหตุของนิ่วในถุงน้ำดี
- โดยปกติ ในน้ำดีจะมีสารเคมีที่ขับออกมา โดยตับสำหรับละลายโคเลสเตอรอลอย่างเพียงพอ แต่หากตับขับโคเลสเตอรอลออกมามากเกินไป อาจทำให้เกิดการก่อตัวจนเกิดตะกอน และกลายเป็นก้อนนิ่วได้
- น้ำดีมีสารบิลิรูบินมากเกินไป สารบิลิรูบินเป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้น เมื่อเซลล์เม็ดเลือดถูกทำลาย หรือตายลง หรืออาจเกิดจากบางภาวะที่ทำให้ตับผลิตสารบิลิรูบินมามากเกินไป เช่น โรคตับแข็งการติดเชื้อระบบทางเดินน้ำดีโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
- ถุงน้ำดีขับของเสียออกได้อย่างไม่เหมาะสม ทำให้น้ำดีอาจอยู่ในสภาพที่มีความเข้มข้นมากซึ่งอาจก่อตัวเป็นนิ่วได้ในที่สุด
ปัจจัยนิ่วในถุงน้ำดี
- เพศหญิงมีความเสี่ยงมากกว่าเพศชาย
- ผู้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป
- อ้วนเกินไป น้ำหนักเกิน
- ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย
- กำลังตั้งครรภ์
- รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
- ใช้ฮอร์โมนทดแทนในการบำบัดสำหรับผู้ที่มีอาการวัยหมดประจำเดือน
- รับประทานอาหารที่มีโคเสลเตอรอลสูง
- รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย
- พันธุกรรม คนในครอบครัวเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี
- เป็นโรคเบาหวาน
- น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
- มีภาวะโรคตับ
ภาวะแทรกซ้อนนิ่วในถุงน้ำดี
- ถุงน้ำดีอักเสบ : เกิดจากก้อนนิ่วที่ติดอยู่ในท่อถุงน้ำดี อาจทำให้เกิดอาการปวดรุนแรงเป็นไข้ และตัวเหลือง ตาเหลือง
- การอุดตันของท่อน้ำดี : เกิดจากก้อนนิ่วเข้าไปปิดกั้นท่อน้ำดี อาจทำให้เป็นดีซ่าน และเกิดการติดเชื้อในท่อน้ำดี
- การอุดตันของท่อในตับอ่อน : จากก้อนนิ่วปิดกั้นท่อของตับอ่อนทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรง และตลอดเวลา
- มะเร็งท่อน้ำดี : ผู้ที่มีประวัติเป็นนิ่วในท่อน้ำดีเพิ่มขึ้น แต่พบได้น้อยมาก
การป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี
- ไม่ควรข้ามมื้ออาหาร หรืออดอาหาร เพราะจะเพิ่มความเสี่ยง ให้เกิดนิ่วในท่อน้ำดี ควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา และครบมื้อทุกวัน
- หากต้องการจะลดน้ำหนักควรค่อยๆ ลดอย่างช้าๆ เพราะหากน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดนิ่วในท่อน้ำดีได้ ควรพยายามลดน้ำหนัก ให้ได้ประมาณ 0.5 – 1 กิโลกรัม ต่อ 1 สัปดาห์
- หากมีน้ำหนักตัวพอดีแล้ว ควรรักษาไว้ให้ได้อย่างต่อเนื่อง ควรลดปริมาณแคลลอรีในการรับประทานอาหาร และเพิ่มการออกกำลังกาย เพื่อช่วยรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป
แพ็กเกจ : ผ่าตัดส่องกล้องนิ่วในถุงน้ำดี
รายการตรวจ | ราคา |
1) ผ่าตัดส่องกล้องนิ่วในถุงน้ำดี (Laparoscopic Cholecystectomy) (สำหรับคนไทย) | 89,000.- |
หมดเขต 31 ธันวาคม 2566
ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ศัลยกรรม (อาคาร 3) ชั้น 2 โทร.02-530-2556 ต่อ 3200