โรคเบาหวาน
คือ การที่มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้นผิดปกติ
ทำไมถึงเป็นเบาหวาน
โดยปกติร่างกายของคนเราจะมีฮอร์โมนอินซูลินซึ่งผลิตจากตับอ่อนทำหน้าที่พาน้ำตาลจากแหล่งอาหารที่เรากินเข้าไปสู่เนื้อเยื่อ หากกลไกนี้ผิดปกติจะทำให้เกิดเบาหวาน
อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
1. กรรมพันธุ์ (พ่อ แม่ พี่น้องเป็นโรคเบาหวาน)
2. อายุมากกว่า 35 ปี
3. อ้วน
4. ขาดการออกกำลังกาย
5. ความดันโลหิตสูง
6. รับประทานอาหารหวานจัด
7. เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ระดับน้ำตาลเท่าไรจึงจะถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
-
ผลน้ำตาลหลังอดอาหารข้ามคืน (มากกว่า 8 ชั่วโมง) มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร 2 ครั้งขึ้นไป
-
ผลน้ำตาลเวลาใดเวลาหนึ่งมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มก/ดล ร่วมกับมีอาการของเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย ตามัว อ่อนเพลีย น้ำหนักลด
เป็นโรคเบาหวานจะเกิดอะไรตามมาบ้าง
-
ภาวะแทรกซ้อนต่อหัวใจและหลอดเลือด
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดมักมีอาการดังนี้
– เจ็บแน่นบริเวณกลางหน้าอก หรือรู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด อาจร้าวไปที่แขน ไหล่ซ้าย ข้อศอก ขากรรไกร เฉียบพลันเป็นลมหมดสติ -
ภาวะแทรกซ้อนต่อสมอง
อาจมีภาวะสมองขาดเลือด หรือมีเลือดออกในเนื้อสมอง โดยอาจมีอาการเตือน ของโรคหลอดเลือดสมองอาจพบเพียง 1 อาการหรือมากกว่า 1 อาการ ดังนี้
– มีอาการอ่อนแรงของใบหน้า การมองเห็นลดลง 1 หรือทั้ง 2 ข้าง
– มีอาการอ่อนแรงของแขนหรือขาซีกเดียวพูดหรือออกเสียงลำบากถ้ามีอาการเหล่านี้ให้รีบไปโรงพยาบาลโดยด่วนภายใน 3 ชั่วโมง -
ภาวะแทรกซ้อนทางตา
เกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตาซึ่งระยะเริ่มต้นไม่ปรากฎอาการ จึงทำให้ผู้ป่วยชะล่าใจ แต่หากมีอาการตามัวก็มักเป็นขั้นรุนแรงแล้ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจคัดกรองจอตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง “ รู้เร็ว รักษาได้ ตาไม่บอด ” -
ภาวะแรกซ้อนทางไต
โดยปกติภายในร่างกายจะต้องผ่านการกรองที่ไตเพื่อกำจัดของเสียอกพร้อมกับปัสสาวะ โดยที่ต้องกรองเลือดซึ่งมีน้ำตาลสูงเป็นเวลานาน ไตจะทำงานหนักทำให้มีสภาพเสื่อมลง ทำให้มีโปรตีนจะรั่วปนออกมากับปัสสาวะอาการซีด อ่อนเพลีย บวมที่หน้า หนังตา หลังเท้า ถ้ารุนแรงมากอาจบวมทั้งตัว หากมีความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะไขมันในเลือดสูง หรือ สูบบุหรี่ด้วย จะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น หากภาวะไตวายเป็นหนักขึ้นในที่สุดผู้ป่วยจะตัดล้างไตตามมาตรฐานผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจประเมินค่าการทำงานของไตปีละ 1 ครั้ง -
ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท นิ้ว เท้า
– ผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จะทำให้ ปลายประสาทเสื่อม เท้าชา เท้าผิดรูป ผิวแห้ง เกิดแผลเรื้องรังที่เท้า แผลติดเชื้อ ถูกตัดเท้าหรือขา
– หลอดเลือดส่วนปลายตีบตัน เกิดแผลเรื้อรังที่เท้า แผลติดเชื้อ ถูกตัดเท้าหรือขา ความบกพร่องของระบบประสาทัตโนมัติ ทำให้ถ่ายปัสสาวะไม่หมด เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มีความผิดปกติในการกลืนอาหาร ท้องอืด
การดูแลเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
-
ตรวจเท้าทุกวัน
-
ล้างเท้าให้สะอาจและเช็ดให้แห้ง
-
ตัดเล็บสั้น ระวังเล็บฝังลงไปในเนื้อ
-
ไม่เดินเท้าเปล่า
-
สวมรองเท้าและถุงเท้าที่ไม่คับ ตรวจรองเท้าก่อนสวม
-
ไม่ประคบร้อนหรือประคบเย็นที่เท้า
-
ไม่ตัดตาปลาหรือหูดด้วยตนเอง
วิธีการจัดการตนเองที่จะช่วยให้ควบคุมโรคเบาหวานได้สำเร็จ
-
ตั้งเป้าหมายในการควบคุมโรคเบาหวาน
-
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามเป้าหมายที่กำหนดและติดตามความก้าวหน้าในเรื่อง ดังนี้
– การรับประทานอาหาร
– ออกกำลังกาย ทำกิจกรรม
– การใช้ยา
– งดสูบบุหรี่
– การแก้ไขปัญหาภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป
– การจัดการกับความเครียด คิดและตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการควบคุมโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแค่ไหนถึงจะเพียงพอ
– ก่อนอากหารควรอยู่ระหว่าง 90-130 มิลลิกรัม
– ค่าฮีโมโกบิน เอ วัน ซี ควรน้อยกว่า 7%
ข้อแนะนำสำหรับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
- รับประทานอาหารครบ 5 หมู่และมีความหลากหลาย
- รับประทานอาหารประเภทผักและเส้นใยอาหารให้มากขึ้น
- จำกัดอาหารที่มีน้ำตาล เกลือและไขมันสูง
- รับประทานผลไม้รสไม่หวาน ไม่เกิน 1 กำมือต่อวัน
- รับประทานอาหารเป็นเวลา
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มรสหวาน เครื่องดื่มบำรุกำลัง ควรเลือกดื่มน้ำเปล่าหากดื่มนมควรเลือกนมพร่องมันเนย
- หากต้องไปงานเลี้ยงควรเลือกรับประทานอาหารด้วยความระมัดระวัง
- เลือกรับประทานอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่างแทนทอดหรือผัด
ข้อปฏิบัติในการออกกำลังกาย
- การออกกำลังกายที่เหมาะสมคือ ประมาณ 30-45 นาที อย่างน้อย 5ครั้ง/สัปดาห์ โดยท่านควรเลือกให้เหมาะกับตัวเอง เช่นการเดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ
ข้อปฏิบัติในการใช้ยา
- กินยาให้ถูกวิธีตามเวลาและถูกขนาด
- ไม่ขาดยา ไม่หยุดยาเอง หากลืมควรรับประทานทันที เมื่อนึกได้ แต่ไม่คสรเพิ่มจำนวนในมื้อถัดไป
- ไม่เพิ่มหรือลดยาด้วยตนเอง
ทำไมผู้ที่เป็นเบาหวานบางรายต้องฉีดอินซูลิน
-
การใช้อินซูลิน เป็นวิธีการรักษาเบาหวานอีกวิธีหนึ่งหากรักษาด้วยยาชนิดรับประทานในขนาดสูงสุดแล้วยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ อาจจำเป็นต้องฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมหากมีอาการเตือนของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำให้ดื่มน้ำหวานประมาณครึ่งแก้วหรืออมลูกอม หรือหลังจากนั้นให้รับประทานข้าวหรือขนมปัง แล้วนอนพักประมาณ 15 นาที ถ้าไม่ดีขึ้นให้ดื่มซ้ำอีกครั้ง หากยังไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์
การป้องกันอันตรายจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ควรพกลูกอมติดตัวอยู่เสมอเมื่อมีอาการของน้ำตาลต่ำ ควรอมลูกอมทันที
- ควรใส่ชื่อที่มีกระเป๋าและเขียน ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ ลแระบุวิธีช่วยเหลือหากพบท่านหมดสติ