โรคหัวใจกับผู้สูงวัย

  • โรคหัวใจกับผู้สูงวัย

  • ทำไมเราจึงต้องให้ความสนใจกับโรคหัวใจ

    1) เมื่อมองดูถึงสาเหตุการเสียชีวิตในปัจจุบันเปลี่ยนจากโรคติดต่อเป็นโรคไม่ติดต่อกัน ทางสื่อโรคที่สำคัญ 3 โรคพื้นฐาน คือ เบาหวาน , ความดันสูง , ไขมันสูง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโรคหัวใจส่วนใหญ่

    2) หากเป็นโรคหัวใจแล้วอาจถึงแกชีวิตได้ ฉนั้นจึงต้องดูแลเป็นพิเศษ

    อายุเท่าไหนจึงเรียกว่าผู้สูงวัย

    – อายุ 60 – 65 ปี

    โรคหัวใจในผู้สูงวัยต่างจากคนทั่วไปอย่างไร

    1) คนสูงอายุมักมีความเสื่อมถอยของหลายอวัยวะ และเป็นการสะสมของโรคต่าง ๆ ทุกโรคที่เราควบคุมไม่ดีมาแต่ต้นทำให้อาการหนักกว่า มีโรคร่วมเยอะ

    2) จึงทำให้รักษายากขึ้นรักษาโรคหนึ่งอาจไปกระทบกับอีกโรคหนึ่งได้ และการรักษาช้าที่ปลายทางของชีวิตมักได้ผลไม่ดีเท่าคนอายุน้อย หรือเพิ่งเป็นมาไม่นาน

    โรคหัวใจที่พบบ่อยในผู้สูงวัยมีโรคอะไรบ้าง?

    7 โรคหลัก คือ โรคหัวใจขาดเลือด , ลิ้นหัวใจ , หัวใจเต้นผิดจังหวะ​ , หัวใจล้มเหลว , ความดันสูง , เบาหวาน , ไขมัน เป็นต้น (สาเหตุเหล่านี้เป็นต้นตอทำให้เกิดโรค รวมถึงความเสื่อมสภาพของร่างกาย)

    อาการอย่างไรที่ควรมาตรวจ

    1) มีอาการเหนื่อย

    2) มีอาการแน่นหน้าอก

    3) มีอาการใจสั่น

    4) มีอาการหน้ามืดหมดสติ

    5) มีอาการบวม

    โรงพยาบาลมีการตรวจอะไรให้รู้ว่าเป็นโรคหัวใจ

    1) สอบถามประวัติ

    2) การตรวจร่างกาย

    3) การทำหัตถการแบบพื้นฐาน ECG : Echo est imt abi laserจนถึงแบบพิเศษ Cag cta mri laser หัวใจล้มเหลว

    การป้องกัน และการดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ 5 ข้อ ดังนี้

    1) อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความมัน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มหวาน หลีกเลี่ยงอาหารหมัก ดอง หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มสุรา เป็นต้น
    อาหารที่สามารถทานได้ : เน้นทานผัก , ผลไม้ไม่หวาน , ถั่ว , เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน , ปลา เป็นต้น

    2) ยาต้องทานต่อเนื่องต้องรู้ว่าอะไร รักษาโรคอะไร ยาตัวใดรักษาอาการได้ หากจำชื่อยาไม้ควรถ่ายรูปไว้

    3) ออกห่างจากบุหรี่ เลิกบุหรี่ ประมาณ 2 ปี จะเป็นผลดีต่อหัวใจ , เลิกบุหรี่ ประมาณ 15 ปี อัตราความเสี่ยงเท่ากับคนปกติ , สารเสพติด , ยาแก้ปวด , คนป่วย โรคที่ป้องกันได้ต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน

    4) ออกกำลังกาย อย่างน้อย 30 นาที 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่น เดิน , วิ่ง , โยคะ , ยืดเหยียดขา , แกว่งแขน , ขอให้มีการเคลื่อนไหว ต่อเนื่อง นอนก็สามารถยกขาไปด้วยได้

    5) ควรนอนให้พักผ่อนเพียงพออย่างน้อย 7 ชั่วโมง หรือ 6-10 ชั่วโมง

    ใครควรมาตรวจสุขภาพหัวใจบ้างนอกจากผู้สูงวัย

    1) ทุกช่วงอายุและ อายุ 30 – 35 ปี ควรตรวจก่อน ดูแลตั้งแต่ต้นให้ดีจะทำให้อายุยืนยาว สุดท้ายแล้วการปฏิบัติตัวให้ดีขึ้น

    2) ออกกำลังกายมากขึ้น

    3) การรับประทานอาหารเลือกทานสิ่งที่ดีมีคุณค่ากับตัวเองมากขึ้น

    4) รับประทานยาตามแพทย์สั่งมากขึ้น ไม่ควรขาดยา ควรรับประทานยาให้สม่ำเสมอ และตรงเวลาออกห่างจากสิ่งที่ทำให้เราเสียสุขภาพ

    5) อารมณ์แจ่มใส และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำเพราะหากตรวจพบก่อนจะได้รักษาทัน

    โดย นพ.ปกรณ์ โลห์เลขา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจ และหลอดเลือด

    ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลลาดพร้าว


    สามารถสอบถามเพื่อเติมได้ที่

    ศูนย์อายุรศาสตร์เฉพาะทาง (อาคาร 2 ชั้น 1) โทร.02-530-2556 ต่อ 2100,2110