โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  • โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  • โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คืออะไร

    1) อวัยวะที่คั่นกลางระหว่างกระดูกสันหลังแตะละชั้น เป็นการกระจายที่กดลง (Compression load)

    2) เนื่องจากโครงสร้างที่เป็นส่วนประกอบหลัก คือ น้ำและคอลลาเจน และยังมีส่วนประกอบที่สำคัญที่ช่วยให้หมอนรองกระดูก มีความแข็งแรงป้องกันการแตก หรือฉีกขาดได้

    3) ส่วนของเนื้อเยื่อที่รายรอบเป็นชั้น ๆ รอบวง (Annulus fibrosus)

    4) หมอนรองกระดูกจะมีทั้งหมด 23 ชิ้น มีลักษณะรูปร่างกลมรี มีขนาดใหญ่ หรือเล็กขึ้นอยู่กับรูปร่างของกระดูกสันหลัง และตำแหน่งนั้น ๆ ของร่างกาย เช่น ต้นคอ หน้าอก หรือเอวดังรูป

    5) จากโครงสร้างของกระดูกสันหลังทั้งหมด ประกอบไปด้วย กระดูกสันหลังแต่ละชั้นขั้นกลางด้วยหมอนรองกระดูก โดยแบ่งเป็นกระดูกสันหลังระดับคอ 7 ชิ้น มีหมอนรองกระดูก 6 อัน

    6) กระดูกสันหลังระดับอก 12 ชิ้น มีหมอนรองกระดูก 11 ชิ้น กระดูกสันหลังระดับเอว 5 ชิ้น มีหมอนรองกระดูก 5 ชิ้น และหมอนรองกระดูกอันสุดท้ายอัก 1 ชิ้น อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังระดับเอว และกระดูกสันหลัง Sacrum

    7) ส่วนประกอบอื่น ๆ ก็มีเส้นเลือด เส้นประสาท ไขสันหลัง และโครงสร้างเล็ก ๆ น้อย ๆ อื่น ๆ

    8) ส่วนที่จะกล่าวถึง คือ เส้นประสาท และไขสันหลัง โดยเส้นประสาทจะแยกออกมาซ้าย และขวาของทุกระดับของกระดูกสันหลังแต่ละชิ้น ดังรูป

    9) จะเห็นส่วนโครงสร้างกระดูกสันหลังมีความซับซ้อน และโรคที่พบบ่อย ๆ คือ โรคหมอนรองกระดูกอักเสบทับเส้นประสาท เนื่องจากว่าเส้นประสาท และหมอนรองกระดูกอยู่ใกล้ชิดกัน

    10) เมื่อมีการฉีกขาด ของกล้ามเนื้อ และมีการแตกออกของกระดูกสันหลังก็มักจะพบว่า ส่วนของกระดูกสันหลังก็จะมากด เบียด ทับเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียงได้ง่าย

    11) เมื่อเกิดภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือเบียดไขสันหลัง จึงจะมีอาการค่อนข้างรุนแรง และเป็นที่วิตกกังวลสำหรับคนไข้

    12) ส่วนอาการก็จะมีตั้งแต่น้อยไปจนถึงมากอย่าง เช่น อาการปวดเอวเรื้อรัง อาการปวดเสียวลงขา ทำให้เกิดอาการชา หรือแม้กระทั้งอ่อนแรงที่ขา และเท้า ปัสสาวะอุจจาระผิดปกติ กลั้นไม่อยู่ เป็นต้น

    13) ส่วนอาการก็จะมีตั้งแต่น้อยไปจนถึงมากอย่าง เช่น อาการปวดเอวเรื้อรัง อาการปวดเสียวลงขา ทำให้เกิดอาการชา หรือแม้กระทั้งอ่อนแรงที่ขา และเท้า ปัสสาวะอุจจาระผิดปกติ กลั้นไม่อยู่ เป็นต้น

    พฤติกรรมเสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

    1) พฤติกรรมก้มเงยบ่อย ๆ หรือมากเกินไป

    2) พฤติกรรมยกของหนักซ้ำ ๆ ท่าเดิม ๆ

    3) ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องทำงานอยู่ในบริเวณที่มีการสั่นสะเทือนบ่อย ๆ เช่น เขตก่อสร้าง

    4) ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือขาดการออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย

    5) พฤติกรรมที่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเวลานานเกินไป โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบท เช่น ผู้ที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป

    วิธีการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือไขสันหลัง

    1) การรักษา โดยไม่ใช่การผ่าตัด : จะเป็นการรักษาตาอทาการ หรือแก้ไขเฉพาะส่วนที่คนไข้เดือดร้อนจากอาการที่เกิด ซึ่งวิธีนี้จะเป็นวิธีการเริ่มเต้นของการรักษา

    2) การรักษาแบบไม่ผ่าตัด : รักษาด้วยการทานยา , การกายภาพบำบัด , การฉีดยาเข้าโพรงประสาท เพื่อระงับอาการปวดการอักเสบ หรือกดทับเส้นประสาทในระดับที่ไม่มากนัก

    3) รวมถึงวิธีอื่น ๆ เช่น การฝังเข็ม เป็นต้น

    4) การรักษาแบบผ่าตัด : ปัจจุบันมีวิธีการผ่าตัดหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะ

    5) การผ่าตัดแบบมาตรฐาน คือ ผ่าตัดจากด้านหลัง เพื่อเข้าไปตัดส่วนที่กดเบือด หรือรั้งต่อเส้นประสาทของหมอนรองกระดูกระดับนั้น ๆ บาดแผลข้างนอกประมาณ 4-5 เซนติเมตร

    6) การผ่าตัดแบบส่องกล้องขยาย หรือ Microscope discectomy จะใช้ความชำนาญของแพทย์ และอุปกรณ์ที่เรียกว่า กล้อง Microscope ช่วยในการผ่าตัด บาดแผลจะมีขนาด 3-4 เซนติเมตร ข้อดี : จะสามารถเห็นอวัยวะที่จะทำการผ่าตัดได้ชัดเจน ลดโอกาสเกิดวามผิดพลาดได้ ต้องมีความชำนาญ มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น และใช้เวลาในการผ่าตัดมากขึ้นเล็กน้อย

    7) การผ่าตัดแบบส่องกล้อง หรือ Arthroscopic Surgery ข้อดี : สามารถฉีดยาชาบริเวณผ่าตัด โดยคนไข้รู้สึกไม่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากวิธีการใช้ยาสลบ สามารถโต้ตอบแพทย์ขณะผ่าตัดได้ แผลจะมีขนาด ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ส่วนข้อจำกันอื่น ๆ ก็คือ แพทย์ต้องมีความชำนาญเป็นอย่างมาก และมีค่าใช้จ่ายเรื่องอุปกรณ์เครื่องมือสูง

    8) วิธีการอื่น ๆ เช่น การจี้ด้วยเครื่องไฟฟ้า คลื่นความถี่สูง ทำให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีการหหดตัว และลดระดับการกดทับลง ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับลักษณะพยาธิสภาพ โดยแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจในการรักษาการแยกโรคมีความจำเป็นมาก

    การป้องกัน

    1) ไม่ยกของหนักจนเกินไป ของท่าเดิม ๆ ซ้ำ ๆ มากเกินไป

    2) ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบทในการทำงานทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง

    3) หมั่นดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย หรือบริหารร่างกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น

    4) เช็คสุขภาพประจำปีตามอายุ และถ้ามีอาการผิดปกติควรมาปรึกษาแพทย์

    โดย นพ.บรรยง เวทยำวกูณฐ์ (ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์)

    ผู้อำนวยการศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลลาดพร้าว


    สามารถสอบถามเพื่อเติมได้ที่

    ศูนย์กระดูกและข้อ(อาคาร 2) ชั้น 4 โทร.02-530-2556 ต่อ 3400,3401