โรคไข้หวัดใหญ่

  • โรคไข้หวัดใหญ่

  •  โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza)


    • เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อ (Influeza Virus) เป็นการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัยสามารถพบได้เกือบทั้งปีมักพบป่อยในช่วยฤดูหนาว ซึ่งบางปีอาจจะพบการระบาดของโรค และเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของอาการไข้ที่เกิดชึ้นเฉียบพลัน

    • แพทย์มักจะให้การวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีอาการตัวร้อนประมาณ 2-3 วัน

    • โดยไม่มีอาการอย่างอื่นชัดเจนว่าเป็นไข้หวัดใหญ่

    • ซึ่งบางครั้งเชื้ออาจจะลามเข้าปอดทำให้เกิดอาการปอดบวม ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง , ปวดศีรษะ , ปวดตามตัว , ปวดตรงบริเวณกล้ามเนื้อ เป็นต้น

    อาการติดต่อของโรคไข้หวัดใหญ่


    • เชื้อไข้หวัดใหญ่ที่จะอยูในน้ำมูก , น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายโดยทางเดินหายใจจากอาการไอ และจาม

    • เชื้อจะเข้าทางปาก และเยื้อบุตา เกิดจากการสัมผัสเสมหะของผู้ป่วยทางแก้น้ำ หรือสัมผัสทางมือที่ปนเปื้อนของเชื้อโรคระยะเวลาที่ติดต่อคนอื่น คือ 1 วันก่อนเกิดอาการ 5 วันหลังจากมีอาการ

    • เชื้อโรคที่เกิดในเด็กอาจจะใช้เวลาในการแพร่เชื้อประมาณ 6 วัน ก่อนมีอาการเชื้อจะแพร่นานประณา 10 วัน

    อาการของโรคไข้หวัดใหญ่


    • มีอาการไข้สูง , มีอาการตัวร้อน

    • มีอาการหนาว และสั่น

    • มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณที่หลังต้นแขน และต้นขา

    • มีอาการปวดศีรษะ , มีอาการอ่อนเพลีย และมีอาการเบื่ออาหาร

    • มีอาการคัดจมูก , มีลักษณะน้ำมูกใส

    • มีอาการไอแห้งๆ

    • มีอาการจุกแน่นท้อง แต่บางรายอาจไม่มีอาการคัดจมูก หรือเป็นหวัดเลยก็ได้

    • มีข้อสังเกตว่า ไข้หวัดใหญ่มักจะพบอาการของหวัดค่อนข้างน้อย เช่น มีอาการคัดจมูก , มีอาการน้ำมูกไหล , มีอาการไอ จาม ซึ่งแตกต่างกับไข้หวัดจะพบกับอาการเหล่านี้ได้ค่อนข้างบ่อย

    • มีอาการไข้ประมาณ 2-4 วัน แล้วค่อยๆ ลดลง

    • มีอาการไอ และมีอาการอ่อนเพลียอาจเป็นอยู่ 1-4 สัปดาห์ แม้ว่าอาการอื่นๆ บางรายเมื่อหายจากไข้หวัดใหญ่ แล้วอาจมีอาการเวียนศีรษะ , มีอาการเมารถ , มีอาการเมาเรือ เนื่องจากการอักเสบของอวัยงะการทรงตัวในหูชั้นใน ซึ่งมักจะหายเองใน 3-5 วัน

    ข้อแนะนำในการดูแลรักษา


    1) โรคนี้ไม่ถือว่าเป็นโรคร้ายแรง ส่วนมากให้การดูแลตามอาการ และจะหายเองได้ภายใน 3-5 วัน ซึ่งมีวิธีดังนี้


    • ให้นอนพัก , ไม่ควรออกกำลังกาย

    • ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้ ดื่มจนปัสสาวะใสไม่ควรดื่มน้ำเปล่ามากเกิน เพราะอาจจะขาดเกลือแร่

    • รักษาตามอาการ หากมีไข้ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว หากไข้ไม่ลดให้รับประทานยาลดไข้ เช่น ยาพารา , เซดามอล ห้ามใช้ยาแอสไพริน โดยเฉพาะในเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี เพราะอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงอื่นๆ ตามมา

    • หากทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง

    • ในผู้ที่เจ็บคออาจจะใช้น้ำ 1 แก้วผสมเกลือ 1 ช้อน กลั้วคออย่าสั่งน้ำมูกแรง เพราะอาจทำให้เชื้อลุกลาม

    • ในช่วงที่มีการระบาด ให้หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์สาธารณะร่วมกัน , เวลาไอ หรือจามต้องใช้ผ้าเช็ดหน้า หรือปิดปาก และจมูก


    สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

    • ศูนย์อายุรกรรม (อาคาร 2) ชั้น G โทร.02-530-2556 ต่อ 2010,2020