โรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)

  • โรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)

  • โรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)

    – เป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ และต่อเนื่องเป็นเวลานานจนอาจส่งผลให้เกิดโรค และอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกระดูกและกล้าเนื้อ ระบบการย่อยอาหาร และการดูดซึม ระบบหัวใจ และหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน นัยน์ตา และการมองเห็น โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานการภาพบำบัดจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่

    อาการทางระบบกระดูก และกล้ามเนื้อที่เกิดจากการทำงานที่พบได้บ่อย และสามารถดูแลโดยนักภาพบำบัด

    1) กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง

    2) กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ

    3) ปลอกหุ้มเส้นเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณฐานนิ้วโป้งอักเสบ

    4) นิ้วล็อค

    5) เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ

    6) ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ

    7) หลังยึดติดในท่าแอ่น

    สาเหตุของการเกิดออฟฟิตซินโดรม

    1) การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน

    2) ท่าทางในการทำงานที่ไม่เหาะสม เช่น การนั่งหลังค่อม ท่าก้ม หรือเงยคอมากเกินไป

    3) สภาพแวดล้อม หรืออุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม

    4) สภาพร่างกายที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย เช่น ภาวะเครียดจากงาน , การอดอาหาร , หารพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายต้องแบกรับความตึงเครียดปราศจากการผ่อนคลายอาการออฟฟิศซินโดรม และแนวทางแก้ไข

    อาการออฟฟิตซินโดรม

    1) อาการเกิดขึ้น เมื่อทำงานไประยะหนึ่ง พักแล้วดีขึ้นทันที (การแก้ไข : พักสลับทำงานเป็นระยะๆ / ยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลาย / นวดผ่อนคลาย / ออกกำลังกาย)

    2) อาการเกิดขึ้น พักนอนหลับแล้วแต่ยังคงมีอาการอยู่ (การแก้ไข : ปรับเปรี่ยนพฤติกรรมการทำงาน / รับการรักษาที่ถูกต้อง)

    3) อาการปวดมากแม้ทำงานเพียงเบาๆ พักแล้วอาการก็ยังไม่ทุเลา (การแก้ไข : ลาพักงาน / ปรับเปลี่ยนงาน และรับการรักษาที่ถูกต้อง)

    แนวทางการรักษากลุ่มอาการออฟฟิตซินโดรม

    1) การรักษาด้วยยา

    2) การรักษาด้วยวิธีทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู และการทำกายภาพบำบัด เพื่อยืดกล้ามเนื้อ และปรับอิริยาบทให้ถูกต้อง

    3) การปรับสถานีงาน พื้นที่การทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และลักษณะงานให้เหมาะสมกันแต่ละบุคคล

    4) การออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกายโดยรวม

    5) การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม , การนวดแผนไทย

    ความสำคัญของกายภาพบำบัดต่อการรักษากลุ่มอาการออฟฟิตซินโดรม

    – กายภาพบำบัดมีบทบาทสำคัญในการรักษากลุ่มอาการออฟฟิตซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อ และกระดูกตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจนถึงกรณีที่มีอาการมากจนรบกวนชีวิตประจำวัน หรือก่อให้เกิดความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว เพื่อฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

    เป้าหมายในการดูแลทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยกลุ่มอาการออฟฟิตซินโดรม

    1) ลดอาการปวดที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ

    2) ลดการเคลื่อนไหวของข้อต่อนั้นๆ ด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงต่างๆ รวมถึงถ้ายังจำเป็นต้องใช้งานต่อเนื่องจากภาระงาน

    3) ให้คำแนะนำที่ถูกต้องเพื่อลด , หลีกเลี่ยงการใช้งานบริเวณที่มีการอักเสบ

    4) ให้ความรู้ในการแก้ไขปัจจัยอื่นที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ได้แก่ การปรับท่าทางให้ถูกต้อง , การปรับ หรือแก้ไขความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย , การปรับสภาพแวดล้อมของเครื่องมือและสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล , การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ และระบบบหัวใจหลอดเลือด , การออกกำลังกายเพื่อการผ่อนคลาย

    วิธีหลีกเลี่ยงออฟฟิตซินโดรม

    1) ปรับเก้าอี้ และโต๊ะทำงานให้เหมาะสมกับการนั่งพิมพ์งาน โดยที่ไม่เกิดอาการเมื่อย หรือต้องยกแขน ก้มหน้า มากจนเกินไป ระดับความสูงที่พอเหมาะ คือ แขนท่อนบนวางราบในระดับเดียวกันกับแป้นพิมคอมพิวเตอร์ หรือโต๊ะทำงาน ไม่สูง หรือไม่ต่ำจนเกินไป หลังพิงพนักเก้าอี้ สายตาห่างจากจอคอมพิวเตอร์อย่างนน้อย 1 ฟุต

    2) แขนที่ใช้เม้าส์ ควรวางระนาบไปกับที่พักแขนของเก้าอี้ได้ เพื่อช่วยพยุงแขนให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับโต๊ะ หรือแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์

    3) เวลาลุกขึ้นจากเก้าอี้ หรือเดินไปเข้าห้องน้ำ ทุกๆ 1 – 2 ชั่วโมง พร้อมกับพักสายตาไปด้วยในตัว มองวิวนอกหน้าต่าง หรือมองต้นไม้สีเขียว ก็จะช่วยพักผ่อนสายตาของเราได้ด้วย

    4) หากสามารถเปิดหน้าต่างของห้องทำงาน หรือภายในออฟฟิศได้บ้าง ก็จะช่วยทำให้อากาศภายในทำงานปลอดโปร่ง ถ่ายเทได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

    5) พักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้ครบ 6 – 8 ชั่วโมง และนอนให้ตรงเวลาให้ได้มากที่สุด

    6) ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

    7) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

    อย่างไรก็ดี

    – การรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม ด้วยวิธีต่างๆ นั้นเป็นเพียงการรักษาที่ปลายเหตุวิธีการที่ดีที่สุดที่จะป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรมจำเป็นต้องทำร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การปรับอิริยาบถในการทำงานให้ถูกต้อง รวมถึงการเสริมสร้างสุขภาพกาย และสุขภาพใจให้สมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดการเกิดอาการบาดเจ็บต่างๆ ที่จะบั่นทอนคุณภาพชีวิต และประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่าถาวร


    สามารถสอบถามเพื่อเติมได้ที่

    ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู (อาคาร 3) ชั้น 4 โทร. 02-530-2556 ต่อ 3420,3421