วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส
- เชื้อก่อโรคสเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการติดเชื้อปอดอักเสบ
- การติดเชื้อรุนแรง เช่น เยื้อหุ้มสมองอักเสบในผู้สูงอายุ , ผู้ป่วยตัดม้าม , ผู้ป่วยตับวาย หรือไดวาย , ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกัน ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และอาจเสียชีวตได้
- วัคซีนสามารถป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส
- วัคซีนนิวโมคอคคัส แบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่ ชนิดคอนจูเกต PCV-13 (13 สายพันธุ์) , ชนิดโพลีแซคคาไรด์ PPSV-23 (23 สายพันธุ์)
ผู้ที่แนะนำให้ฉีดวัคซีน
- ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่ได้รับการตัดม้าม
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น หัวใจวายเรื้อรัง , หอบหืด , ปอดอุดกั้นเรื้อรัง , โรคไตวาย , โรคตับแข็ง , เบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ดี , ผู้ป่วยที่มีการรั่วซึมของน้ำไขสันหลัง
- ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หรือยาสเตียรอยด์ขนาดสูง ติดเชื้อเอชไอวีเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ และปลูกถ่ายไขกระดูก
การฉีดวัคซีน
- การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสในผู้สูงอายุ สามารถลดการเกิดปอดอักเสบ และการติดเชื้อรุนแรงจากเชื้อก่อโรคที่มีสายพันธุ์ตรงกับในวัคซีน
ผลข้างเคียง
- ผลข้างเคียงภายหลังฉีดวัคซีนพบได้ร้อยละ 30 เป็นอาการเฉพาะที่ เช่น เจ็บ , บวม , แดง ในตำแหน่งที่ฉีดวัคซีนบางรายอาจมีอาการยกแขนไม่ขึ้น หรือมีไข้ ,ปวดศรีษะ ซึ่งโดยทั่วไปมักรุนแรง สามารถหายได้เองใน 2-3 วัน
นิวโมคอคคัส สาเหตุของโรคอันตรายในเด็ก
- ทุก 20 วินาที จะมีเด็กที่เสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม
- 1 ใน 4 ของเด็กที่ป่วยเป็นโรคไอพีดี ชนิดเยื้อหุ้มสมองอักเสบบีมีโอกาสเสียชีวิต
- เชื้อนิวโมคอคคัส มีมากมายหลายสายพันธุ์
- องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้เด็กอายุต่ำ กว่า 5 ปี เสริมภูมิคุ้มกันโรคปอดบวม และไอพีดี จากเชื้อนิวโมคอคคัส
เชื้อนิวโมคอคคัส คืออะไร
- เชื้อนิวโมคอคคัส คือ เชื้อแบททีเรียชนิดหนึ่งที่มีหลายสายพันธุ์ และเป็นสาเหตุสำคัญของโรคที่อันตรายทั้งปอดบวม , ไอพีดี และหูชั้นกลางอักเสบ
- พบเชื้อโรคได้ในโพรงจมูกของคนทั่วไป แพร่กระจายสู่กันได้ง่าย เพียงแค่การไอ หรือจาม
- ในประเทศไทยพบว่าเชื้อนิวโมคอคคัส 13 สายพันธุ์ เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคไอพีดีในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และเด็กในวัยนี้ยังพบโรคไอพีดีจากสายพันธุ์ 19A เพิ่มขึ้น
- เชื้อร้ายที่ดื้อยา และคร่าชีวิตเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ทั่วโลกเกือย 1 ล้าน คน ทุกปี (พบมากในประเทศกำลังพัฒนา)
เชื้อนิวโมคอคคัส (รุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อเชื้อดื้อยา)
- ปัจจุบัน พบว่าปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะนั้นมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นผลมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่มากขึ้น หรือไม่ได้ใช้ตามที่แพทย์สั่ง
- ซึ่งพบว่าเชื้อนิวโมคอคคัส บางสายพัธุ์ เช่น สายพันธุ์ 19A เป็นสายพันธุ์หนึ่งที่พบปัญหาการดื้อยาสูงทำให้ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
- ศูนย์กุมารเวชกรรม (อาคาร 2) ชั้น 2 โทร.02-530-2556 ต่อ 2200,2201