ไอพีดี (IPD) ภัยร้ายในเด็ก

  • ไอพีดี (IPD) ภัยร้ายในเด็ก

  • ไอพีดี (IPD) ภัยร้ายในเด็ก

    รู้จักโรคไอพีดี

    1) IPD (invasive pneumococcal disease) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอดคัส ชนิดรุนแรง ประกอบด้วยโรคสำคัญ 2 โรค ได้แก่ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคติดเชื้อในกระแสเลือด บางครั้งอาจรวมถึงโรคปอดบวม ที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วย นอกจากนี้ เชื้อนิวโมคอคคัส ยังเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหูชั้นล่างอักเสบ และโรคไซนัสอักเสบอีกด้วย

    2) โรคติดเชื้อ พบได้บ่อย และมีโอกาศที่จะเกิดโรครุนแรงในผู้ป่วยเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง ซึ่งอาจถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต หรือมีความพิการทางสมองได้ ในปัจจุบันเชื้อนิวโมคอคคัส มีการดื้อยาด้านจุลชีพ หรือยาปฏิชีวนะ ที่ในอดีตเคยใช้ได้ผลอย่างดีอย่างเพนนิซิลิน ทำให้การรักษาโรคติดต่อเชื้อนิวโมคอคคัส และไอพีดีความยาวลำบากเพิ่มขึ้น

    อาการของผู้ป่วยไอพีดี

    อาการของผู้ป่วยไอพีดีแตกต่างกันตามประเภทของอวัยวะที่ติดเชื้อ และอายุของผู้ป่วย

    1) โรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบ : ผู้ป่วยโรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอดคัส มีอาการไข้ , ปวดศีรษะ , ซึมลง และอาจมีอาการชักได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก

    2) โรคติดเชื้อในกระแสเลือด : ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดจากเชื้อนิวโมคอดคัส มีอาการไข้สูง , ซึมลง , ความดันโลหิตต่ำ และผู้ป่วยเด็กอาจมีอาการชักจากไข้สูงได้

    3) โรคปอดบวม : ผู้ป่วยปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอดคัส มีอาการไข้สูง และเหนื่อยหอบ อาการของผู้ป่วยมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่าผู้ป่วยปอดบวมจากเชื้อไวรัส นอกจากนี้ โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอดคัส อาจเกิดตามหลังการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะไวรัสไข้หวัดใหญ่

    การวินิจฉัย ไอพีดี

    การวินิจฉัยอาการของผู้ป่วย และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

    1) การให้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม

    2) การเลือกใช้ยาขึ้นกับโรคที่เป็น

    3) การติดเชื้อเชื้อนิวโมคอดคัส ควรครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อแต่ละโรค ซึ่งอาจเกิดจากเชื้ออื่นๆ

    การป้องกันโรคไอพีดี

    1) หลีกเลี่ยงการนำเด็กเข้าไปในที่ชุมชน หรือสถานที่แออัดโดยไม่จำเป็น

    2) สวมหน้ากากอนามัย การปิดปากและจมูก เวลาไอจาม

    3) ล้างมือบ่อยๆ ในผู้ป่วยที่มีอาการไข้ หรือมีอาการหวัด อาจช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อนิวโมคอดคัส เช่นเดียวกับการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจ

    4) เสริมสร้างภูมิคุ้มกันอย่างเหมาะสม โดยสามารถปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม


    สามารถสอบถามเพื่อเติมได้ที่

    ศูนย์กุมารเวชกรรม (อาคาร 2) ชั้น 2 โทร. 02-530-2556 ต่อ 2200,2201