LASIK ครบทุกทางเลือกในการรักษาสายตา
Lasik
1) เป็นวิวัฒนาการในการแก้ไขสายตาที่ผิดปกติทั้งสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียงโดยอาศัย เครื่อง Excimer Laser ซึ่งโรงพยาบาลลาดพร้าว พร้อมที่จะให้การผ่าตัดรักษาด้วยเครื่องเลเซอร์รุ่นที่ 4 (4 Generation Wavefront Laser) ซึ่งให้ความแม่นยำสูงสุดในปัจจุบัน
2) การผ่าตัดแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติโดยการใช้เสเซอร์ชนิดเรียกว่า ” เอ็กไซเมอเลเซอร์ ” (Excimer Laser) ซึ่งเป็นเลเซอร์ความยาวคลื่น ในระดับ อัลตราไวโอเลต 193 nm. เป็นแสงเลเซอร์แบบเย็น
3) ซึ่งจะทำปฏิกิริยาเฉพาะพื้นที่ผิวสัมผัสเท่านั้น ไม่กระจายไปด้านข้าง หรือผ่านทะลุเข้าไปภายในลูกตาแต่อย่างใด
4) โดยจะใช้ร่วมกับ เครื่องมือแยกชั้นกระจกตาออก ประมาณ 1 ใน 3 ของความหนากระจกตาทั้งหมด แล้วยิงเลเซอร์ไปที่เนื้อกระจกตาทั้งหมด แล้วยิงเลเซอร์ไปที่เนื้อกระจกตาทั้งหมด และยิงเลเซอร์ไปที่เนื้อกระจกตาชั้นกลาง
5) เพื่อปรับเปลี่ยนความโค้งเสร็จแล้วจึงปิดกระจกตากลับลงไปตำแหน่งเดิม ทั้งหมดนี้รวมเป็นการผ่าตัดที่เรียกว่า ” เลเซอร์ อิน-สิตู เคอราโต มิลูซิส ” (Laser in-situ Kerato-mileusis) หรือเลสิก (Lasik)
6) ซึ่งเป็นวิธีการรักษาสายตาผิดปกติที่แน่นอน และแม่นยำในปัจจุบันนี้
7) ก่อนเข้ารับการรักษาแพทย์จะวัดสายตาว่ามีภาวะสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง เท่าไหร่ และตรวจสายตาโดยละเอียดในสภาพที่ม่านตาปกติ และม่านตาถูกขยายม่านตา ตรวจปริมาณน้ำตา ตรวจความแข็งแรงของกระจกตาโดยทั่วไป สุดท้ายก็จะตรวจสภาพจอประสาทตา
8) ข้อมูลทั้งหมด แพทย์จะนำมาสรุปให้คำแนะนำวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมแก่ผู้รับการรักษาต่อไป
9) ผู้ที่ใช้เลนส์สัมผัสลักษณะแข็ง และนิ่ม จะต้องงดใช้เลนส์สัมผัสประมาณ 7-14 วัน
ข้อควรทราบเพิ่มเติม
1) การรักษาชนิดนี้ไม่มีความเจ็บปวด เนื่องจากแพทย์จะใช้ยาชาหยอด ก่อนและในระหว่างการผ่าตัด เลยไม่จำเป็นต้องใช้ยาฉีด หรือยาสลบแต่อย่างใด
2) การรักษาชนิดนี้ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 10 – 15 นาที ต่อการรักษา 1 ข้าง และสามารถกลับบ้านได้ทันทีหลังการรักษา
3) การรักษาชนิดนี้มีระยะพักฟื้นที่เร็วมากเพียงไม่กี่ชั่วโมง ก็เป็นปกติ ส่วนใหญ่สามารถไปทำงานได้ในวันรุ่งขึ้นหลังการรักษาโดยทั่วไปแล้วการมองเห็นมันจะดีขึ้นทันที หลังการรักษา แต่จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อได้รับการเปิดตาจากแพทย์ในวันรุ่งขึ้น
4) การรักษาชนิดนี้มีความแม่นยำสูงมาก อย่างไรก็ตามผลการรักษาขึ้นอยู่กับความมากน้อยของภาวะสายตาผิดปกติก่อนเข้ารับการรักษา
EPI-LASIK คืออะไร
1) เป็นเครื่องมือใหม่ที่พัฒนาวิธีผ่านผิวกระจกตาจากวิธีเดิมๆ เครื่องมือนี้สามารถตัดฝาให้บางลง และตัดเฉพาะผิวกระจกตาเท่านั้น โดยไม่เข้าไปในเนื้อกระจกตา ทำให้ผิวที่ฝามีความหนาเพียง 50ไมครอน (0.005ม.ม) แตกต่างจาก Lasik ปกติ ที่มีความหนาถึง 110 – 160 ไมครอน (0.11 – 0.16ม.ม) ส่งผลให้เหลือเนื้อกระจกตามากขึ้น
2) ข้อดีของการมีเนื้อกระจกตาเหลือหนามากขึ้น ทำให้แก้ไขปัญหาของคนสายตาสั้นมากได้ เพราะสามารถขยายความกว้างของบริเวณที่ยิงเลเซอร์ได้มากขึ้น ทำให้ลดปัญหาแสงกระจายทำให้มองเห็นในเวลากลสงคืนได้ดีขึ้น ประกอบกับการที่ไม่ได้ตัดเข้าไปในเนื้อกระจกตาทำให้ไม่ตัดโดนเส้นประสาทของแก้วตาทำให้โอกาสเกิดตาแห้งลดลงวิธีนี้ยังมี ข้อจำกัดอยู่บ้าง เช่น หลังการผ่าตัดอาจต้องใส่คอนแทคเลนส์ชั่วคราว เพราะมีอาการเคืองตา และปวดมากกว่าการทำ Lasik ปกติ , เวลาที่สายตามองเห็นได้ดีเต็มที่จะช้ากว่าการทำการแก้ไขแบบ Lasik ปกติ
การตรวจตาก่อนทำเลสิค
1) แพทย์จะทำการวัดสายตาโดยละเอียดรวมถึงการวัดสายตาในสภาพที่ม่านตาขยายตัว ด้วยยาหยอดขยายม่านตา
2) วัดความโค้งของกระจกตา และความหนาของกระจกตาด้วยคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย
3) แพทย์จะทำการตรวจสภาพสายตา โดยละเอียดรวมถึงการตรวจสภาพ กระจกตาจอประสาทตาจากข้อมูลที่ได้ทั้งหมดเพื่อสรุป และให้คำแนะนำกับผู้ที่เข้ารับการรักษา
4) ผู้เข้ารับการตรวจที่ใส่คอนแทคเลนส์อย่างน้อย 3 วัน สำหรับเลนส์ชนิดนิ่ม และ 7 วันสำหรับเลนส์ชนิดแข็ง
ข้อดีของการรักษาด้วยวิธี เลสิค
1) เลสิค เป็นการรักษาภาวะสายตาผิดปกติอย่างถาวร
2) ใช้เวลาในการผ่าตัด และการพักฟื้น แผลหายเร็ว
3) สามารถมองเห็นได้ทันทีหลังการผ่าตัด
4) ไม่ต้องฉีดยาชา เพียงแต่ใช้ยาชาหยอดตา และไม่มีการเย็บแผล
5) กลับบ้านได้ทันทีหลังการผ่าตัด
ผู้ที่เหมาะสมสำหรับการรักษาด้วยวิธีเลสิค
1) มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป
2) มีสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี
3) ไม่มีโรคของกระจกตา เช่น โรคกระจกตาย้วย ตาแห้งอย่างรุนแรง และโรคตาอย่างอื่น เช่น จอประสาทตาเสื่อม หรือโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรค Sle โรคเบาหวาน หรือโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการขาดภูมิคุ้มกัน
4) ไม่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร