โรคศูนย์กลาง จอประสาทตาเสื่อมคืออะไร
- โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration) เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากความเสื่อมในส่วนของจอประสาทตา ซึ่งเกิดเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น นับเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ให้มีความสูญเสียความสามารถ ในการมองเห็นในผู้สูงอายุปัจจุบันประชากรโลกมีอายุเพิ่มมากขึ้น จึงพบว่าโรคนี้เป็นปัญหาทางสาธารณสุขมากขึ้นเรื่อยๆ มีการประเมินพบว่า โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมเป็นสาเหตุที่ทำให้ตาบอดมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 54) โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี จึงมักเรียกว่าโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากอายุ (Age-related Macular Degeneration or AMD)
ชนิดของจุดศูนย์กลางประสาทตาเสื่อม
ศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมมี 2 ชนิด
- โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง (Dry AMD) พบประมาณร้อยละ 90 เป็นโรคที่ทำให้มีการสูญเสียการมองเห็นอย่างช้าๆ โรคกลุ่มนี้จอประสาทลงบริเวณศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม (Macula) ทำให้มีความสามารถในการมองเห็นลดลงและเป็นไปอย่างช้าๆ บางรายอาจมีการพัฒนาไปเป็นโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมชนนิดเปียก (Wet AMD) ดังนั้นผู้ป่วยที่มีการมองเห็นลดลงอย่างมากควรไปตรวจกับจักษุแพทย์
- โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมชนนิดเปียก (Wet AMD) พบประาณร้อยละ 10-15 โรคกลุ่มนี้การสูญเสียการมองเห็นเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเป็นสาเหตุสำคัญของตาบอดได้ในโรคนี้ ซึ่งสาเหตุการตาบอดเกิดจากมีหลอดเลือดผิดปกติงอกอยู่ใต้จอประสาทตา และผนังชั้น RPE ซึ่งหลอดเลือดเหล่านี้จะเปราะและแตกง่าย มีการรั่วซึมของเลือด และสารเหลวจากหลอดเลือด ทำให้เกิดแผลเป็น และจอประสาทตาบวม ผู้ป่วยเริ่มมองเห็นภาพครงกลางเบี้นว และเกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็ว และเฉียบพลัน ดังนั้นผู้ป่วยที่มีการมองเห็นอย่างเฉียบพลันควรพบจักษุแพทย์ทันที ซึ่งสามารถรักษาการมองเห็นได้ดีกว่าที่เป็นมานาน
โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมมีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง
ปัจจัยเสี่ยงที่มีอิธิพลต่อการเกิดโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม มีดั้งนี้
- อายุที่พบบ่อยในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
- พันธุกรรมพบว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยจะมีประวัติที่คนในครอบครัวเป็นมาก่อน
- เชื้อชาติ เพศอุบัติการณ์ของโรคสูงในคนผิวขาวและเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
- บุหรี่ มีหลักฐานพบว่าการสูบบุหรี่ จะมีโอกาสเกิดโรคนี้เร็วกว่าผู้ไม่สูบถึง 10 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูบบุหรี่ที่มีประวัติครอบครัวร่วมด้วยนจะมีโอกาสเพิ่มถึง 30 เท่า
อาการเริ่มต้นของโรคโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม
- มีอาการภาพบิดเบี้ยว มองเห็นเส้นตรงเป็นเส้นขาด
- มีอาการมองภาพ หรืออ่านหนังสือที่ต้องใช้งานละเอียดยากกว่าปกติ
- มีอาการไม่เห็นส่วนกลางของภาพ
- มีอาการมองภาพต้องใช้แสงเพิ่มขึ้น มองเห็นลดลง ไม่ตรงกลางเส้น การมองเห็นสีลดลง
ข้อแนะนำเพื่อลดโอกาสการเกิดโรค
- เข้ารับการตรวจตาและจอประสามตา
- งดการสูบบุหรี่
- ควบคุมนำ้หนักตัวและออกกำลังกาย
- ทานอาหารต้านอนุมูลอิสระและธาตุสังกะสี
- ป้องกันดวงตาจากแสงแดด
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- สำหรับการรักษาในกลุ่มโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมชนนิดเปียก (Wet AMD) การรักษามีจุดมุ่งหมายเพื่อทำลายหลอดเลือดออกใหม่ ซึ่งแตกง่ายทำให้เกิดเลือดออกหรืทำให้การมองเห็นลดลงในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการรักษาที่จะให้การมองเห็นกัลับมาดีดังเดิมได้ เมื่อทำการรักษาเพื่อช่วยชะลอการสูญเสียของการมองเห็น
สามารถสอบถามเพื่อเติมได้ที่
- ศูนย์โรคตา อาคารศูนย์การแพทย์ลาดพร้าวสหคลินิค อาคาร 2 ชั้น 4 โทร : 02-530-2556 ต่อ 2440,2441