โรคต้อหิน
- ภาวะเส้นประสาทตาพิการเรื้อรังอย่างถาวร มีลักษณะเฉพาะของขั่วประสาทตา และลานสายตาผิดปกติ
โรคต้อหินแบ่งเป็น 2 ชนิด
- ชนิดที่ 1 : ต้อหินชนิดมุมปิด หรือมุมแคบ เกิดจากการปิดกั้นการระบายน้ำภายในตาออกจาลูกตา ทำให้เกิดความดันสะสมในตา ความดันลูกตาเพิ่มมากจึงทำให้เส้นประสาทตาพิการอย่างถาวร
- ชนิดที่ 2 : ต้อหินชนิดมุมเปิด สามารถพบไได้บ่อยที่สุด ส่วยใหญ่พบความดันตาสูงกว่าปกติ ส่วนน้อยมีความดันตาปกติ หรือความดันตาต่ำ
อาการโรคต้อหิน
- ต้อหินชนิดมุมเปิด : ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการผู้ป่วยเริ่มสูญเสียการมองเห็นอย่างช้าๆ
- ต้อหินชนิดเปิด : ในระยะสุดท้ายของโรค อาจทำให้การมองเห็นแคบ และสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร
- ต้อหินมุมปิด : ให้ระวังอาการต้อหินชนิดมุมปิดกำเริบเฉียบพลัน
ผู้ที่สงสัยว่าเป็นต้อหินควรไปพบจักษุแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัย และรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อรักษาการมองเห็น
ใครบ้างมีความเสี่ยงเป็นโรคต้อหิน
- ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต้อหิน ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป , มีปรัวัติบุคคลในครอบครัวที่เป็นโรคต้อหิน , ตรวจพบความดันในตาสูง , เคยมีอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับดวงตา , ใช้ยาสเตียรอยด์ , มีภาวะสายตายาว หรือสายตาสั้น และมีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน , ไมเกรน เป็นต้น
สัญญาณเตือนโรคต้อหิน
- ไม่มีอาการเตือนในระยะแรก
- การสูญเสียการมองเห็นจะเริ่มที่ขอบนอกของลายสายตา คือ การมองเห็นด้านข้าว , ส่วนตรงกลางภาพยังเห็นชัด (กรณีไม่เข้ารับการรักษาลานสายตาจะมีอาการมองเห็นภาพแคบลงเรื่อยๆ)
- การเปลี่ยนแปลงมักจะค่อยๆเป็น โดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว
- มีอาการมองเห็นผิดปกติ หรือเห็นไม่ชัด (สาเหตุนี้มักจะถูกทำลายไปมากแล้ว ซึ่งอันตรายต่อดวงตา) ต้อหินเฉียบพลัน ต้องได้รับการรักษาทันที
- ซึ่งเป็นภาวะที่มีความดันสูงขึ้นมากและรวดเร็ว จัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
- ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะ ปวดตาอย่างรุนแรง และ เฉียบพลัน ตาแดง ตามัว เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ คลื่นไส้ อาเจียน ต้องรีบมาพบจักษุแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที (อย่างไรก็ดีต้อหินเฉียบพลันพบได้ไม่บ่อยนัก)
การรักษาโรคต้อหิน ดังนี้
- การรักษาโรคต้อหิน มีเป้าหมายเพื่อประคับประคองไม่ให้ประสาทตาถูกทำลายมากขึ้น และเพื่อให้การมองเห็นที่มีอยู่คงสภาพนานที่สุด โดยการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค ซึ่งจักษุแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย สำหรับทางเลือกในการรักษาในปัจจุบันมีอยู่ 3 วิธีหลัก ได้แก่
- การรักษาด้วยยา (ต้องหยอดยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง)
- การใช้เลเซอร์
- อย่างไรก็ตาม โรคต้อหินแต่ละชนิดในแต่ละชนิดในแต่ละคน จะตอบสนองต่อวิธิการรักษาแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงควรพบจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวางแผนการรักษาเฉพาะสำหรับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป
การตรวจคักรอง ป้องกันโรคต้อหิน
- เนื่องจากโรคต้อหินหากประสาทตาถูกทำลายไปและ จะไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับมาได้ การตรวจวิเคราะห์ความเสี่ยง การวินิจฉัย และการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจึงมีความสำคัญมาก ดังนั้น ผู้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป หรือผู้ที่มีความเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองเพื่อดูว่าเสี่ยงต่อการเป็นโรคต้อหิน หรือไม่
- ผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ผู้ที่มีอายุ 40-46 ปี ควรตรวจ 2-4 ปี อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุก 1-2 ปี
- ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน , ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
- ผู้ที่มีประวัติโรคทางตา เช่น จอประสาทตาลอก , เกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับตา เป็นต้น
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคทางตา เช่น ต้อหิน , จอประสาทตาเสื่อม , ทำงานที่ใช้สายตามากเกินไป , ใช้ยาที่มีผลต่อดวงตา , ใส่คอนแทคเลนส์ อายุ 18 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองทุก 1-2 ปี หรือตามแพทย์แนะนำ และขยับความถี่มาเป็นปีละ 1 ครั้ง เมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป
- โรคต้อหิน : การรักษา และการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การตรวจอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง เพื่อที่จะได้ทำการรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ เป็นการป้องกันการตาบอดจากโรคต้อหินได้ดีที่สุด
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
- ศูนย์โรคตา (อาคาร 2) ชั้น 4 โทร.02-530-2556 ต่อ 2440,2441