ความรู้ : 5 พฤติกรรม สุขอนามัย ป้องกัน ไข้หวัดใหญ่

  • ความรู้ : 5 พฤติกรรม สุขอนามัย ป้องกัน ไข้หวัดใหญ่

  • โรคไข้หวัดใหญ่

    • ไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อ (Influenza Virus) เป็นการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ เช่น จมูก , คอ , หลอดลม และปอดติดเชื้อ อาจจะลามเข้าปอดทำให้เกิดอาการปอดบวม
    • ผู้ป่วยจะมีอาการ เช่น มีอาการไข้สูง , มีอาการปวดศีรษะ , มีอาการปวดตามตัว , มีอาการปวดตามกล้ามเนื้อ จะพบมากทุกอายุโดยเฉพาะในเด็กจะมีโอกาสพบมากเป็นพิเศษ
    • อัตราการเสียชีวิตมักจะพบมาในผู้ที่มี อายุมากกว่า 60 ปี หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ , โรคปอด , โรคตับ , โรคไต เป็นต้น
    • การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด
    • สามารถลดอัตราการติดเชื้อ เช่น ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล , ลดโรคแทรกซ้อน , ลดการหยุดงาน หรือหยุดเรียน

    อาการติดเชื้อ ได้แก่

    • เชื้อสามารถมีการติดได้ง่ายโดยทางเดินหายใจ
    • มีอาการติดต่อโดยการไอ , จาม เชื้อจะเข้าทางเยื่อบุตา และปาก
    • มีโอกาสติดเชื้อ เช่น เสมหะของผู้ป่วยทางแก้วน้ำ , ผ้า , การจูบ หรือการสัมผัสทางมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรค

    อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

    • มักจะมีอาการเหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่ไข้หวัดใหญ่จะมีอาการที่แรงกว่า

    ระยะอาการฟักตัว ดังนี้

    • ระยะฟักตัวประมาณ 1 – 4 วันเฉลี่ย 2 วัน
    • ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างเฉลียบพลัน
    • มีอาการเบื่ออาหาร และอาการคลื่นไส้
    • มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง
    • มีอาการปวดแขน , มีอาการปวดขา , มีอาการปวดข้อ , มีอาการปวดรอบกระบอกตา
    • มีไข้สูง 39 – 40 องศาในเด็ก , ผู้ใหญ่ไข้ประมาณ 38 องศา
    • มีอาการเจ็บคอ , มีอาการคอแดงมีน้ำมูกไหล
    • มีอาการไอแห้งๆ , มีอาการตาแดง
    • ระยะฟักตัวในเด็กอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน , อาการไข้ , อาการเหล่านี้อาจจะหายใน 2 วัน แต่อาการน้ำมูกไหลคัดจมูกอาจจะอยู่ได้ 1 สัปดาห์

    สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดในผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว

    • อาจจะพบว่ามีการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ , ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก , เหนื่อยหอบ
    • อาจจะมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ , ผู้ป่วยจะปวดศีรษะ , มีอาการซึมลง , มีอาการหมดสติ , ระบบหายใจอาจจะมีอาการของโรคปอดบวม , จะมีอาการหอบหายใจเหนื่อยจนถึงหัวใจวาย
    • โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่จะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีบางรายซึ่งอาจจะมีอาการปวดข้อ และมีอาการไอได้ถึง 2 สัปดาห์

    ระยะการติด

    • ระยะติดต่อหมายถึงระยะเวลาที่เชื้อสามารถติดต่อไปยังผู้อื่น
    • ระยะเวลาที่ติดต่อคนอื่น คือ 1 วันก่อนเกิดอาการ
    • ระยะเวลา 5 วันหลังจากมีอาการในเด็กอาจจะแพร่เชื้อ 6 วัน ก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้นาน 10 วัน

    การป้องกันโรคไข้หวัด และโรคไข้หวัดใหญ่

    • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด กับคนที่ป่วยเป็นไข้หวัด
    • ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ
    • หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้าของตนเองโดยไม่จำเป็น
    • ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกหลักอนามัย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • โรคไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ปัจจุบันแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะสำหรับเด็ก และผู้สูงอายุ ตลอดจนกลุ่มเสี่ยงที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

     


    สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

    • ศูนย์อายุรกรรม (อาคาร 2) ชั้น G โทร.02-530-2566 ต่อ 2010,2020