ศูนย์ตรวจสุขภาพ
ศูนย์ตรวจสุขภาพโรงพยาบาลลาดพร้าว
เป็นศูนย์ที่ให้บริการตรวจสุขภาพครบวงจร (One Stop Service) ที่มีรายการตรวจหลายประเภท และครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกเพศทุกวัย พร้อมให้บริการเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของทุกคนดังนี้ ตรวจสุขภาพประจำปี , ตรวจสุขภาพก่อนสมรส , ตรวจสุขภาพก่อนทำประกันชีวิต , ตรวจสุขภาพก่อนทำงาน , ตรวจสุขภาพเพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ , ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นต้น
การเตรียมตัวเข้ารับการตรวจสุขภา (ดังคำแนะนำทั่วไป)
1) การตรวจสุขภาพ โดยการใช้เวลาในการตรวจมากกว่า 2 ชั่วโมง แล้วแต่ละโปรแกรมที่เลือก
2) งดอาหาร และเครื่องดื่มอย่างน้อย 12 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ
3) นำบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทางมาพบเจ้าหน้าที่ก่อนเวลานัดอย่างน้อย 10 นาที
4) นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
5) หากท่านมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพอื่นๆ กรุณานำผลการตรวจรายงานจากแพทย์และยาที่รับประทานอยู่มาด้วยเพื่อประกอบการวินิจฉัย
6) หากท่านกำลังรับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต ท่านสามารถรับประทานต่อได้ตามที่แพทย์แนะนำ
7) กรุณางดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ขั่วโมง ก่อนตรวจสุขภาพ (ในกรณีเข้ารับการเอกซเรย์ หรือการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนตัว)
8) ควรงดอาหาร , น้ำ และเครื่องดื่มทุกชนิดอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ก่อนตรวจสุขพ และต้องงดจนกว่าทำการตรวจเสร็จ (ในกรณีเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย)
9) กรุณานำรองเท้าพละมาด้วย
10) หากท่านจำเป็นต้องรับประทานอาหารก่อนการตรวจ ควรรับประทานอาหารว่างเบาๆ เท่านั้น หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน คาเฟอีน และแอลกอฮอล์
11) หากท่านอยู่ในระหว่างรับการรักษาหรือรับประทานยารักษาโรคอยู่ กรุณาแจ้งให้พยาบาลทราบก่อนเข้ารับการตรวจ
คำแนะนำสำหรับการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง
– เพื่อให้ผลการตรวจที่ชัดเจนที่สุด ตรวจอัลตราซาวด์ซ่องท้องส่วนล่าง ควรดื่มน้ำมากๆ และกลั้นปัสสาวะนาน 1-2 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจ ในส่วนการอัลตราซาวด์ส่วนบน ควรงดน้ำ และอาหาร 9-10 ชั่วโมง ก่อนมาตรวจ
ก่อนตรวจสุขภาพต้องเตรียมตัวอย่างไร?
1) นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ (อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ก่อนรับการตรวจสุขภาพ)
2) ควรสวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน
3) ควรงดอาหาร และเครื่องดื่ม (อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนตรวจ ซึ่งสามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย)
4) ในวันตรวจงดใส่เครื่องประดับต่างๆ (ที่เป็นโลหะ สุขภาพสตรีควรงดใส่ชุดชั้นในเป็นโครงเหล็ก)
5) ควรงดดื่มแอลกอฮอล์ (อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนตรวจสุขภาพ)
6) สุขภาพสตรีต้องตรวจภายใน (ควรตรวจก่อน หรือหลังมีประจำเดือน 7 วัน)
7) ควรเข้ารับการตรวจในช่วงเช้า (เพื่อไม่ให้ร่างกายอิดโรย เนื่องจากการงดน้ำ และอาหารมากเกินไป)
8) หากมีประจำเดือน ให้กรุณางดตรวจปัสสาวะ (เพราะเลือดจะปนเเปื้อนในปัสสาวะ และกระทบต่อผลการตรวจ)
9) หากกำลังทานยา เพื่อควบคุมความดันโลหิต (สามารถทานต่อได้ตามคำแนะนำของแพทย์ แต่ควรแจ้งแพทย์ หรือพยาบาลให้ทราบก่อนการตรวจ)
10) หากตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) (ควรหลีกเลี่ยงการตรวจในช่วงมีประจำเดือน เพราะเต้านมจะมีความคัดตึง)
11) หากมีโรคประจำตัว หรือประวัติสุขภาพด้านอื่นๆ (กรุณานำผลการตรวจจากแพทย์มาด้วย เพื่อประกอบการวินิฉัย)
12) กรณีสังสัยว่าตั้งครรภ์ (โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบ เพื่องดการตรวจเอกซเรย์)
การตรวจสุขภาพ คือ ?
– การป้องกันไม่ให้เกิดโรคในผู้ที่มีความเสี่ยงจะพบได้ในอนาคต ซึ่งผู้ป่วยที่เหมาะสมจะตรวจ คือ ผู้ป่วยที่มีสุขภาพดี , ผู้ป่วยที่สงสัยในการเป็นโรค , ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะพบในอนาคต และต้องการได้รับคำแนะนำ เพื่อปรับเปี่ยนแก้ไข และการป้องกันไม่ให้เกิดโรค รวมไปถึงการตรวจสุขภาพแล้วพบว่ามีไขมันในเลือดสูง , ผู้ป่วยที่ไม่ได้เจ็บป่วยอะไรก็จะได้ปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร , ผู้ป่วยที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดอุดตันในอนาคต เป็นต้น
ทำไมต้องตรวจสุขภาพ ?
– ประชาชนอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และประชาชนอายุน้อยกว่า 50 ปี ควรตรวจทุก 2-3 ปี เพื่อช่วยวิเคราะห์ประเมิน รวมไปถึงการเฝ้าระวังโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
ข้อดีของการตรวจสุขภาพประจำปี
1) ช่วยให้ทราบสุขภาวะ และความสมบูรณ์ของร่างกาย จึงส่งผลให้สามารถปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันได้เหมาะสมกับสถานะสุขภาพ
2) ช่วยให้ค้นพบความผิดปกติ หรือโรคต่างๆ ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยให้คนไข้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที ป้องกันไม่ให้ความผิดปกติลุกลามมากขึ้น
3) ช่วยให้ติดตาม และประเมินสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อให้แพทย์ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม
4) ลดความสูญเสียทั้งด้านสุขอนามัย และด้านการเงิน
การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนตรวจสุขภาพ
1) พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อให้ผลการตรวจแม่นยำ
2) งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
3) งดอาหาร และเครื่องดื่ม (ยกเว้นน้ำเปล่า) อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง ในกรณีที่ตรวจหานำ้ตาลในเลือด และไขมันในเลือด
4) หากมีโรคประจำตัว หรือยาที่ใช้ประจำ ให้รับประทานยาตามปกติไม่ต้องงดยา และนำยาที่ใช้มาในวันตรวจสุขภาพด้วย
ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพ
1) การตรวจสุขภาพมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะในการค้นหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคในอนาคต
2) เพื่อป้องกัน และขจัดปัจจัยเสี่ยงนั้นก่อนที่จะเป็นโรค
3) การรักษาก่อนการเป็นโรคนั้น สามารถทำให้ทดแทนได้ในระยะเริ่มแรก เช่น โรคมะเร็ง
4) ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น การรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง , ผู้ป่วยที่มีไขมันสูง ซึ่งมีผลทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง , ผู้ป่วยที่มีผลให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง และผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเป็นนโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ , ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองร่วมด้วย เป็นต้น
5) กรณีผู้ป่วยรับประทานอาหารรสจัด และไม่ตรงเวลา จึงทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือผู้ป่วยมีการดื่มสุรา ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคตับอ่อนอักเสบ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง , ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง , ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับ รวมไปถึงการก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เป็นต้น
6) ผู้ป่วยที่ไม่ออกกำลังกายเป็นสาเหุตของโรคอ้วน ซึงมีผลให้เป็นเบาหนาวไขมันในเลือดสูง
7) กรณีผู้ป่วยที่ขาดวิตามิน และไขมันพอกตับ หรือตับอักเสบรวมถึงโรคมะเร็งตับในอนาคต
8) ผลการตรววจทางห้องปฏิบัติการบางอย่าง เพื่อนำไปสู่การค้นหาปัจจัยเสี่ยง และการป้องกันได้
9) สามารถป้องกันโรคได้ เช่น การเอ็กซเรย์ปอดก่อนเข้าทำงานจะพบว่ามีจุดอักเสบในปอด เมื่อทำการสืบค้นต่อพบว่าเป็นวัณโรคปอด ซึ่งเป็นโรคที่สามารถติดต่อไปสู่คนในครอบครัว และเพื่อร่วมงานได้
10) ทำการตรวจเลือดก่อนแต่งงานพบว่ามีเม็ดเลือดแดงผิดปกติ หรือมีโลหิตจาง
11) ในบางกรณีผู้ป่วยที่เป็นพาหะของโลหิตจางธาลัสซีเมียซึ่ง สามารถถ่ายทอดไปสู่บุตรได้
12) นอกจากนี้ยังมีการตรวจเลือดอาจพบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคซิฟิลิส , ผู้ป่วยที่เป็นกามโรค HIV เป็นต้น
13) การทำงานของตับที่มีอาการผิดปกติ หรือพบเชื้อไวรัสตับอักเสบ
14) การตรวจอุจจาระ ซึ่งพบว่าเม็ดเลือดแดง เมื่อส่องกล้องทางทวารหนักแล้วพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ถ้าเป็นระยะแรกก็สามารถรักษาหายขาดได้
15) การฉีดวัคซีน หรือยาบางชนิดก็เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคตามองค์กรควบคุมโรค (CDC) และองค์กรอนามัยโลก (WHO) เช่นกัน
16) การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก และคอตีบ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต และวัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน และวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ , บี , วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
17) การตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก (Bone Density) เพื่อดูเรื่องภาวะกระดูกพรุนที่ก่อให้เกิดกระดูกหักได้ในอนาคต
18) การตรวจฮอร์โมนเพศในสตรีวัยทอง (Perimenopause) จะเห็นได้ว่าการตรวจสุขภาพ และมุ่งเน้นในเรื่องการป้องกันไม่ให้เกิดโรค
19) รวมไปถึงการรับคำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง หรือพฤติกรรมบริโภค ซึ่งอาจนำมาซึ่งโรคเพื่อการระวังรักษาสุขภาพให้ดีตลอดไป
คำอธิบายรายการตรวจสุขภาพ
1) รายการดังต่อไปนี้เป็นรายการที่มีในแพ็กเกจตรวจสุขภาพของเรา
2) รายละเอียดเหล่านี้จัดทำเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในการตรวจสุขภาพประจำปี และการประเมินสภาวะสุขภาพ กรณีมีผลผิดปกติ
3) ท่านอาจจะต้องทำรายการตรวจที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น จึงทำให้เกิดการตรวจซ้ำ เพื่อประเมินปัญหาดังกล่าว
4) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของการตรวจ
หมายเหตุ
– รายการเหล่านี้เป็นรายการที่ถูกระบุไว้ในแพ็กเกจการตรวจสุขภาพเท่านั้น ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลลาดพร้าว และให้บริการการตรวจอีกหลายประเภทที่ไม่ได้ระบุไว้ในที่นี้
1) การวัดสัญญาณชีพ และการตรวจร่างกาย
– ค้นหาความผิดปกติ ของความดันโลหิต และความผิดปกติที่สามารถค้นพบได้เบื้อต้นจากการตรวจร่างกายของแพทย์ , ทำการอัลตราซาวด์เต้นชีพจร , ตรวจการหายใจ , ตรวจวัดไข้
2) การตรวจเลือด
– การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC) เป็นการตรวจเพื่อค้นหาความผิดปกติของส่วนประกอบทั้งหมดของเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง , เม็ดเลือดขาว , เกล็ดเลือด เป็นต้น
– ทำการตรวจความเข้มข้นของเลือด ซึ่งอาจบ่งบอกถึงงสภาวะความผิดปกติของเลือด , ตรวจภาวะโลหิตจาง หรือภาวะที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย
– ทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และน้ำตาสะสม (Hb1C) เป็นการตรวจสำหรับการหาภาวะโรคเบาหวาน และภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน
– ทำการตรวจไขมันในเลือดเป็นการตรวจวัดระดับไขมัน , ทำการหาตรวจคอเลสเตอรอล , ทำการตรวจหาไตรกลีเซอร์ไรด์ เพื่อระบุความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
– ทำการตรวจโรคเก๊าท์ (กรดยูริค) เป็นการตรวจวัดเพื่อวัดระดับกรดยูริคในเลือด เพื่อวินิจฉัยโรคของอักเสบเก๊าท์
3) การตรวจการทำงานของไต
– BUN (Blood Urea Nitrogen) เป็นการตรวจวัดค่าของเสียในส่วนของระบบเผาผลาญโปรตีน ซึ่งจะบ่งบอกความสามารถในการขับของเสียของไต
– Creatinine เป็นการวัดค่าของเสีย การดูดซึม และการขับออกทางไต ซึ่งสามารถบ่งชี้ถึงภาวะการทำงานของไดได้ดี
4) การตรวจการทำงานของตับ
– SGOT (AST) and SGPT (ALT) การทดสอบเหล่านี้ตรวจสอบระดับเอนไซม์ตับที่มีอยู่ในเลือดถ้าผลผิดปกติ อาจบ่งบอกภาวะโรคของตับบางอย่าง เช่น ตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ หรือไวรัส
– Alkaline Phosphatase (ALP) เป็นเอ็นไซม์ตับอักชนิดหนึ่งที่จะบ่งบอกถึงความผิดปกติของตับ , ถุงน้ำดี , กระดูก
– Total Bilirubin , Albumin , Globulin เป็นการตรวจที่ใช้ร่วมกันเพื่อบ่งบอกโรคหลายอย่างของตับ เช่น ภาวะตับเหลือง หรือไม่ และโรคที่มีพื้นฐานที่เกี่ยวกับโรคไต
– Gamma GT (GGT) เป็นการตรวจที่ดูความผิดปกติของตับ และถุงน้ำดี ซึ่งจะพบได้ในการดื่มแอลกอฮอล์ และการติดเชื้อจากอาการอักเสบ
– TSH and Free T4 การทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นการตรวจที่ช่วยบ่งชี้ปัญหาของต่อมไทรอยด์ เช่น ทำงานมากจึงทำให้ผิดปกติ หรือการทำงานน้อยเกินไป
– การตรวจไวรัสตับอักเสบบี และซี ซึ่งเป็นการตรวจ เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี
5) การตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง
– การตรวจมะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) เป็นการตรวจ เพื่อตรวจคัดกรองหาความเสี่ยงของมะเร็งทางเดินอาหารจากเลือด ซึ่งผลที่สูงกว่าค่าปกติไม่ได้แสดงถึงการเป็นมะเร็งเสมอไป ควรตรวจเพื่อเติมด้วยการส่องกล้องทางเดินอาหาร
– การตรวจมะเร็ง (AFP) เป็นการตรวจ เพื่อตรวจคัดกรองความเสี่ยงของมะเร็งตับจาดเลทอด ดังนั้น ผลที่สูงกว่าค่าปกติไม่ได้แสดงถึงการเป็นมะเร็งเสมอไป ควรตรวจเพิ่มเติมด้วยการอัลตร้าซาวน์ในช่องท้อง
– การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) เป็นการตรวจ เพื่อตรวจคัดกรองหาความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากจากเลือด ดังนั้น ผลที่สูงกว่าค่าปกติไม่ได้แสดงถึงการเป็นมะเร็งเสมอไป
6) การตรวจปัสสาวะ
– เป็นการตรวจทั่วไปซึ่งมักจะใช้ในการวินิจฉัยโรคทางเดินปัสสาวะ และไต เช่น นิ่วในท่อไต , การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
7) การตรวจอุจจาระ
– เป็นการตรวจหาพยาธิ และความผิดปกติในทางเดินอาหาร เช่น การติดเชื้อจากลำไส้ , พยาธิ เป็นต้น
8) การทดสอบที่เกี่ยวเนื่องกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
– การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การทดสอบที่ใช้ในการประเมินผลการทำงานของหัวใจในขณะพัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองหาจังหวะหัวใจผิดปกติ และความเสี่ยงของการเกิดหัวใจวาย
– การตรวจหัวใจโดยการเดินสายพาน (EST) เป็นการทดสอบการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกายเพื่อหาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
9) การตรวจด้วยถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย
– เอกซเรย์ปอด (การถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดใช้สำหรับดูความผิดปกติในช่องทรวงอก เช่น ขนาดของหัวใจ , โรคต่างๆของปอด และซี่โครงการดัดกรองความเสี่ยงของวัณโรคปอด)
– อัลตราซาวด์ช่องท้องทั้งหมด (เป็นการตรวจภายนอกที่มีประสิทธิภาพในการตรวจหาขนาดความผิดปกติของอวัยวะสำคัญภายในช่องท้อง และการใช้ในการดูมดลูกรังไข่ในเพศหญิง และต่อมลูกหมากในเพศชาย)
– การตรวจเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์ (เป็นการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งเต้านม และความผิดปกติอื่นๆ ของเต้านม)
10) การตรวจภายใน
– เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเซล์ปากมดลูก และโอกาสที่จะเป็นมะเร็งของผู้หญิง อีกทั้ง เป็นการตรวจในอุ้มเชิงกราน เพื่อมองหาความผิดปกติที่เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ (ช่องคลอด , ปากมดลูก , ท่อน้ำไข่ , รังไข่ , ปีกมดลูก)
11) การตรวจตา (วัดสายตาทั่วไป และตรวจตาบอดสี)
– เป็นการตรวจสุขภาพตตาทั่วไป ผู้ป่วยที่มีอาการสายตาสั้น , ยาว
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
- ศูนย์ตรวจสุขภาพ (อาคาร 3) ชั้น 3 โทร.02-530-2556 ต่อ 3300,3301
แพ็คเกจประจำศูนย์
แพทย์ของเรา
นพ.ชวลิต วงศ์สุทธิผล
แพทย์ศาสตร์บัณฑิต คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่แพทย์เฉพาะทางด้านสาขาอายุรกรรมทั่วไป, เวชศาสตร์ครอบครัว
ข้อมูลแพทย์พญ.ภรัณยู สุขะนินทร์
แพทย์ศาสตร์บัณฑิต คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แพทย์เฉพาะทางด้านสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป
ข้อมูลแพทย์