ศูนย์เลสิค
ศูนย์เลสิคโรงพยาบาลลาดพร้าว
1) เราได้คัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดของเรา เพื่อดวงตาของคุณรวมถึงทั้งเครื่องมือเลสิค (Lasik) และเทคโนโลยีที่ทันสมัยพร้อมแกไขทุกปัญหาสายตาที่เลือกสรรเฉพาะบุคคล
2) เพื่อความเหมาะสมที่สุดกับดวงตาของคุณ โดยจักษุแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และมากด้วยประสบการณ์ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญ และความเอาใจใส่ในการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง
การแก้ไขสายตาด้วยวิธีเลสิค (Lasik)
1) เลสิคเป็นวิวัฒนาการในการแก้ไขสายตาที่ผิดปกติ เช่น สายตาสั้น , สายตายาวตั้งแต่กำเนิด และสายตาเอียง โดยอาศัย (เครื่อง Excimer Laser)
2) โรงพยาบาลลาดพร้าว พร้อมที่จะให้การผ่าตัดรักษาด้วยเครื่องเลเซอร์รุ่นที่ 4 (4 Geneation Wavefront Laser) ซึ่งให้ความแม่นยำสูงสุดในปัจจุบัน
เลสิค (Lasik)
1) เป็นวิธีการผ่าตัดรักษาภาวะเรื่องสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น , สายตายาวโดยกำเนิด , สายตาเอียง และสายตายาวตามอายุ เป็นต้น
2) โดยจะมีการใช้เครื่องแยกชั้นกระจกตา ด้วยเครื่อง (Microkeratome) เพื่อช่วยแยกชั้นกระจกตาให้มีความหนาประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาของกระจกตา โดยใช้เครื่อง (Excimer Laser) เพื่อขัดเนื้อกระจกชั้นกลาง เพื่อเปลี่ยนความโค้งของกระจกตาโดยรวม เพื่อปิดผิวกระจกตาเข้าที่เดิม
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษาเลสิค
1) ผู้ป่วยที่มาเข้ารับการตรวจ (ผู้ป่วยควรงดใส่คอนเทคเลนส์ ก่อนที่จะมาตรวจ) ดังนี้
1.1) คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม (Soft Lens) ควรงดใส่คอนแทคเลนย์อย่างน้อย 3 วันก่อนตรวจ
1.2) คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง (Hard Lens) หรือชนิดกึ่งแข็งกึ่งนิ่ม (Semi Hard Lens) ควรงดใส่คอนแทคเลนส์ อย่างน้อย 14 วันก่อนตรวจ
1.3) คนไข้สามารถใช้แว่นสายตาแทนในระหว่างที่ไม่ได้ใส่คอนแทคเสนส์
1.4) เหตุผลของการงดใส่คอนแทคเลนส์ เนื่องจากคอนแทคเลนส์สัมผัสโดยตรงกับกระจกตา ซึ่งเมื่อใช้ไปนานๆ อาจทำให้รูปร่างของกระจกตาเปลี่ยนแปลงได้
1.5) ต้องใช้เวลาในการกลับคืนรูปร่างตามธรรมชาติ คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งจะมีผลต่อกระจกตามากกว่าคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม
1.6) การวัดสายตา โดยที่ถอดคอนแทคเลนส์มาไม่นานพอที่จะได้ค่าการวัดที่ไม่เที่ยงตรง
2) ไม่ควรขับรถเอง เนื่องจากหนึ่งในขั้นตอนการตรวจประเมินสภาพตา เพื่อทำเลสิค (Lasik) มีการหยอดยาขยายม่านตา ซึ่งผลของยานี้จะทำให้คนไข้มีอาการ ดังนี้
2.1) มองเห็นไม่ชัดเจน , ภาพเบลอ อาจมีอาการวิงเวียนศีรษะได้
2.2) มองใกล้ไม่ชัดถึงแม้จะใส่แว่น
2.3) สู้แสงจ้าไม่ได้ แนะนำควรนำแว่นกันแดดมาด้วย เพื่อให้สบายตามากขึ้น
2.4) ในกรณีที่นัดตรวจในตอนกลางวัน โดยอาการดังกล่าว จะมีผลเป็น เวลา 4-6 ชั่วโมง ดังนั้น จึงไม่แนะนำให้คนไข้ขับรถเองในช่วงเวลาที่มีอาการดังกล่าว จึงอาจมีญาติ หรือเพื่อนมารับกลับ หรือให้นั่งรถแท็กซี่กลับบ้าน
3) ในกรณีการหยุดใช้ยาบางประเภท เช่น ยาแก้สิว (Roaccutane) , (Acnotin) หรือ (Lsotane) ควรหยุดใช้ยาก่อนวันตรวจ และประเมินสถาพตา ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 1 เดือนเต็ม เนื่องจากยาชนิดนี้ส่งผลทำให้เยื่อบุต่างๆ แห้งกว่าปกติ รวมถึงผิวกระจกตาด้วย
4) ในกรณีที่ใช้ยารักษาโรคประจำตัวอื่นๆ หากท่านที่มีการใช้ยารักษาโรคประจำตัวอื่นๆ (กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบในวันตรวจ)
5) สุขภาพสตรีต้องไม่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ สุขภาพสตรีต้องไม่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ หากมีการคลอดบุตรแล้วควรมีประจำเดือนมาปกติอย่างน้อย 2 ครั้งติดต่อกัน โดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
6) ในกรณีที่ท่านมีความประสงค์ หรือวางแผนที่จะทำเลสิค (Lasik) นานเกิน 3 เดือน
7) นับจากวันตรวจสภาพตาท่านจะต้องเข้ารับการตรวจประเมิณสภาพตาซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากในช่วงก่อนการผ่าตัดท่านอาจมีการเปลี่ยนแปลงของสายตา หรืออาจมีโรคตาเกิดขึ้นได้ ดังนี้
7.1) การตรวจซ้ำจะเป็นการยืนยันความสมบูรณ์ของสภาพตาว่าพร้อมที่จะเข้ารับการรักษาเลสิค (Lasik)
7.2) เวลาที่ใช้ในการตรวจประเมินสภาพตา โดยละเอียดเพื่อรักษาเลสิค (Lasik) ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง
8) การใช้บริการของศูนย์เลสิคโรงพยาบาลลาดพร้าว เพื่อความสะดวกของท่าน (ขอความกรุณานัดล่วงหน้าที่ Call Center : 081-0977-700 , 089-201-2044) เพื่อที่จะสามารถให้บริการคนไข้ได้อย่างดีที่สุด
ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีเลสิค
1) เลสิคเป็นการรักษาภาวะสายตาผิดปกติอย่างถาวร
2) ใช้เวลาในการผ่าตัด และการพักฟื้นระยะสั้น , แผลหายเร็ว
3) สามารถมองเห็นได้ทันทีหลังการผ่าตัด
4) ไม่ต้องฉีดยาชา เพียงแต่ใช้ยาชาหลอดตา และไม่มีการเย็บแผล
5) กลับบ้านได้ทันทีหลังการผ่าตัด
เลสิคกับการเพิ่มคุณภาพชีวิต
1) เลสิคเปิดอิสระแห่งการมองเห็น ลดการพึ่งพาแว่น และคอนแทคเลนส์
2) เลสิคเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพบางอาชีพ เช่น นักบิน , แอร์โฮสเตส , ทหาร , ตำรวจ เป็นต้น
3) เลสิคเพิ่มความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับแว่น หรือคอนแทคเลนส์
4) เลสิคเพิ่มความคล่องตัวในการประกอยกิจกรรม เช่น งานอดิเรก , กีฬา , กีฬาทางน้ำ และกีฬากลางแจ้ง
5) เลสิคเสริมสร้างบุคลิกภาพ
ผู้ที่เหมาะสมสำหรับการรักษาด้วยวิธีเลสิค
1) มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป และมีสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี
2) ไม่มีโรคของกระจกตา เช่น โรคกระจกตาย้าวย , ตาแห้งอย่างรุนแรง
3) โรคตาอย่างอื่น เช่น จอปนะสาทตาเสื่อม , โรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เป็นต้น
(Sle) หรือโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการขาดภูมิคุ้มกัน
1) ไม่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
2) มีความเข้าใจถึงการผ่าตัดด้วยวิธีเลสิคอย่างละเอียด และมีความคาดหวังที่ถูกต้อง
การแก้ไขสายตาด้วยวิธี (PRK : Photorefractive Keratectomy)
1) ในคนไข้บางรายที่แพทย์พิจารณาแล้ว สรุปว่าสามารถทำผ่าตัดรักษาสายตาได้ โดยที่ไม่มีข้อห้ามแต่มีภาวะบางอย่าง ซึ่งไม่เหมาะสมกับการผ่าตัดด้วยวิธีเลสิค (Lasik)
2) แพทย์อาจจะเสนอการผ่าตัดด้วยวิธี (PRK : Photorefractive Keratectomy) แทน
ขั้นตอนการทำ (PRK : Photorefractive Keratectomy)
1) (PRK : Photorefractive Keratectomy) เป็นวิธีการผ่าตัดรักษาสายตาปกติ เช่น สาตาสั้น , สายตายาวโดยกำเนิด และสายตาเอียงแบบถาวร
2) การทดลองด้วยผิวกระจกตาที่อยู่ด้านนอกสุด ที่เรียกว่า (Epithelium) ของกระจกตาออกก่อน ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายผิวถลอก
3) การใช้ (Excimer Laser) ปรับแต่งความโค้งของผิวกระจกตาโดยตรง วิธีนี้เป็นวิธีที่มีมาก่อนเลสิคหลายปี และยังใช้จนถึงปัจจุบัน
จะทำ (PRK : Photorefractive Keratectomy) ในกรณีใด?
1) แพทย์จะพิจารณาทำ (PRK : Photorefractive Keratectomy) ในคนไข้ที่สายตาสั้น และเอียงไม่เกิน -5.00 D. และกระจกตาบาง
2) มีประวัติกระจกตาถลอกง่าย หรือมี (Recurrent Erosion)
3) มีภาวะตาแห้งกว่าปกติ และรักษา
4) เหตุผลทางอาชีพ เช่น สอบเป็นนักบิน , สอบเข้าเตรียมทหาร เป็นต้น
5) ที่เป็นโรคต้อหินในบางราย ซึ่งแพทย์เฉพาะทางต้อหินพิจารณาแล้วว่าสามารถรักษาสายตาผิดปกติได้
6) ผู้ที่มีความโค้งกระจกตาผิดรูปไม่เหมาะสมที่จะแยกชั้นกระจกตา
7) การทำเลสิคแบบ (PRK) จะเป็นการทำเลสิคเพียงวิธีเดียวที่อนุญาติ สำหรับผู้ที่จะสอบเป็นนักบิน , ทหาร , ตำราจ
ข้อดีของการรักษาด้วยวิธี (PRK : Photorefractive Keratectomy)
1) เป็นการรักษาภาวะสายตาผิดปกติอย่าถาวร
2) เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่กระจกตาบาง
3) ช่วยลดภาวะตาแห้ง และเป็นทางเลือกของผู้ที่มีน้ำตาน้อย
4) มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อย
5) ไม่ต้องฉีดยาชา เพียงแต่ใช้ยาชาหยอดตา และไม่มีการเย็บแผล
6) กลับบ้านได้ทันทีหลังการผ่ตัด
(PRK : Photorefractive Keratectomy) คือ
เป็นวิธีการรัหษาสายตาสั้น , ยาว , เอียงด้วยเลเซอร์ (โดยไม่มีการแยกชั้นกระจกตาแบบเลสิค) จะทำการขูดชั้นผิวบนสุดของกระจกตาที่เรียกว่า (Epithelium) แล้วจึงเจียรผิวกระจกตาด้วยเลเซอร์
ผู้ที่เหมาะทำ (PRK : Photorefractive Keratectomy) แทนการทำเลสิค
1) กระจกตาบาง + สายตาสั้น
2) กระจกตาถลอกง่าย
3) กระจกตาผิดปกติ
4) ตาแห้งกว่าปกติ
5) เป็นการรักษาสายตาที่ดีสำหรับผู้ที่กระจกตาบาง และกระจดตาถลอกง่าย
6) เหตุผลทางวิชาชีพ เช่น นักบิน
หลังทำ (PRK : Photorefractive Keratectomy) จะเคืองตาอย่างน้อย 3 วัน ใช้เวลาในการฟื้นตัวของแผลนาน จึงนิยมน้อยกว่าเลสิค
เปิดทำการทุกวัน (เวลา 08.00-20.00 น.)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
- ศูนย์เลสิค (อาคาร 2) ชั้น 4 โทร.02-530-2556 ต่อ 2450,2451
แพ็คเกจประจำศูนย์
เวลาให้บริการ
- เปิดทำการทุกวัน เวลา 08.00-20.00 น.
แพทย์ของเรา
พญ.ฉันทกา สุปิยพันธุ์ (ว.31817)
แพทย์ศาสตร์บัณฑิต คณะแพทย์ศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)แพทย์เฉพาะทางด้านสาขาจักษุแพทย์เชี่ยวชาญจอประสาทตา-เลสิค
ข้อมูลแพทย์พญ.ชญานี โพธิวงศาจารย์
แพทย์ศาสตร์บัณฑิต คณะแพทย์ศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)แพทย์เฉพาะทางด้านสาขาจักษุแพทย์เชี่ยวชาญจอประสาทตา-เลสิค
ข้อมูลแพทย์พญ.สุธนี สนธิรติ (ว.35432)
แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)แพทย์เฉพาะทางด้านสาขาจักษุแพทย์เชี่ยวชาญจอประสาทตา-เลสิค
ข้อมูลแพทย์รศ.นพ.อัมพร จงเสรีจิตต์ (ว.14220)
แพทย์ศาสตร์บัณฑิต คณะแพทย์ศาสตร์ (มหาลัยสงขลานครินทร์)แพทย์เฉพาะทางด้านสาขาจักษุแพทย์เชี่ยวชาญจอประสาทตา-เลสิค
ข้อมูลแพทย์