ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลลาดพร้าว

 

 

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลลาดพร้าว

ให้บริการด้านการส่งเสริม ป้องกันรักษา และฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคทางระบบต่าง ๆ ดังนี้

1) ระบบกระดูกและข้อ

2) ระบบประสาท

3) ระบบทางเดินหายใจ

4) ระบบหัวใจ และหลอดเลือด

โดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรบำบัด

ทีมผู้ให้การรักษา ดังนี้

1) แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

2) นักกายภาพบำบัด

ให้นักกิจกรรมบำบัด และนักอรรถบำบัด

โดยให้การดูแลรักษาผู้ป่วยแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

1) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท เช่น ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก , ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อน , ผู้ป่วยอัมพาตทั้งตัว , ผู้ป่วยสูงอายุ เป็นต้น

– แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นผู้ประเมิน สรุปปัญหา โดยรวมของผู้ป่วย ตั้งเป้าหมายในการรักษาร่วมกับบุคคลากรอื่น ๆ ในทีมติดตามรักษาประสานงานให้การทำงานของทีมเป็นไปอย่างราบรื่น

– นักกายภาพบำบัดให้การรักษา ฟื้นฟูโดยการออกกำลังกาย การฝึกนั่ง ฝึกยืน เดินโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดร่วมด้วย อาทิเช่น ราวฝึกเดิน , บันไดฝึกเดิน , เตียงฝึกยืน , เครื่องฝึกการทรงตัวในท่ายืน , ถุงทราย เป็นต้น

– นักกิจกรรบำบัดให้การรักษา ฟื้นฟูโดยการฝึกกิจกรรมประจำวันโดยการ บริหารมือ ,บริหารนิ้ว ,การฝึกกลืน เป็นต้น

– นักอรรถบำบัดให้การรักษา ฟื้นฟูโดยการฝึกพูด ,การสื่อความหมาย เป็นต้น

2) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคทางระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ ได้แก่ ผู้ป่วยปวดคอ , ปวดไหล่ , ปวดหลัง , ปวดเข่า , ปวดกล้ามเนื้อ หรือโรคกระดูกเสื่อมให้การรักษา โดยใช้เครื่องมือไฟฟ้าต่าง ๆ อาทิเช่น

– การใช้เครื่องอัลตราซาวด์ และกระแสไฟฟ้า เพื่อลดอาการปวด ,คลายกล้ามเนื้อ ,ลดการอักเสบ และเพิ่มการไหลเวียนเลือด

– การใช้เครื่อง Short Wave Diathermy เพื่อลดอาการปวด , การอักเสบของเส้นเอ็น , ข้อต่อ และเพิ่มการไหลเวียนเลือด

– การใช้เครื่อง High Power Laserเพื่อลดอาการปวด ,บวม ,อักเสบขอเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อโดยสามารถเห็นผลการรักษาตั้งแต่รักษาครั้งแรก

– การใช้เครื่อง Shock Wave Therapy เพื่อลดอาการปวด สลายพังผืดในกล้ามเนื้อ , เส้นเอ็น , ข้อต่อ โดยเฉพาะในระยะการอักเสบเรื้อรัง เช่น โรครองช้ำ (Plantar Fasciitis) โรคเอ็นข้อศอกอักเสบ (Tennis Elbow) เป็นต้น

– การใช้เครื่องดึงหลัง ดึงคอ เพื่อลดการกดทับเส้นประสาทภาวะกระดูกเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกเคลื่อน

3) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ผู้ป่วยปวดบวม , ผู้ป่วยหลอดลมอักเสบซึ่งมักเกิดในเด็ก และผู้สูงอายุ , ผู้ป่วยถุงลมโป่งพอง , ฝีในปอด , ผู้ป่วยถุงลมโป่งพอง , ฝีในปอด , ผู้ป่วยก่อน และหลังการผ่าตัดช่องท้อง และทรวงอก เป็นต้น

4) ให้การรักษาโดยการเคาะปอด , การสั่นปอด , การดูดเสมหะ , การฝึกหายใจ , ฝึกไอ , การจัดท่าระบายเสมหะ และการออกกำลังกาย

5) ในกลุ่มโรคระบบหัวใจ และหลอดเลือด ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหัวใจ , ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ ให้การรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย และฝึกเคลื่อนย้ายตัวบนเตียง , การลุกนั่ง ฝึกยืน , ฝึกเดิน และการทำกิจกรรมต่าง ๆ

6) เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้

7) High Power Laser Therapy : การรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง เลเซอร์ (Laser) เป็นการรักษา ด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า

8) Electromagnetic wave : เป็นลำแสง ที่มีความถี่ และความยาวคลื่นเดียวโดยอาจเป็นลำแสงที่มีสีให้มองเห็นด้วยตาเปล่า หรือไม้ก็ได้

9) ทุกคลื่นในลำแสงมีความพร้อมเพรียง ไม่มีการกระจานของสำแสงด้วย เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถควบคุมกำกับให้เลเซอร์ ที่แม้จะมีกำลังสูงก็ไม่ก่อให้เกิดความร้อนที่ผิดหนัง และเนื้อเยื้อจนถึงขีดอันตรายตรงกันข้ามกำลังที่สูงขึ้นร่วมกับค่าความยาวคลื่นที่มาก

10) ทำให้เลเซอร์สามารถลงผ่านผิวหนังสู่เนื้อเยื่อในตำแหน่งที่ลึกตามเป้าหมายได้อย่างแม่นยำกลไกลการทำงานของการรักษาด้วยเลเซอร์

11) เป็นลักษณะการปรับด้านชีวภาพ (Biomodulation) เชื่อว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับ 3 กลไกล ได้แก่

1) ผลทางเคมี

– Chemical Effect : พบว่าเลเซอร์จะทำให้ระดับของสารก่อการอักเสบ

– Inflammatory Mediators : และสารตั้งต้น ของการอักเสบ

– Proinflammatory Cytokines : บางตัว และสภาวะเครียดออกซิเดชั่น

– Oxidative Stress : ในเซลล์ลดลงอีก

2) ผลจากความร้อน

– Thermal Effect : เลเซอร์ทำให้เกิดการสั่นของอะตอมในเซลล์ ส่งผลให้เพิ่มการขยายตัว และการไหลเวียนของเลือด และน้ำเหลือง ช่วยเพิ่มออกซิเจน สารอาหาร และสารกระตุ้นการเจริญเติบโต

– growth factor : นำไปสู่การซ่อมแซมเนื้อเยื้อที่ดีขึ้น

3) ผลทางเชิงกล

– Mechanical Effect : เลเซอร์ทำให้เกิดคลื่นแรงดันภายในเนื้อเยื้อ

– Elastic Pressure Wave : ส่งผลเพิ่มการไหลเวียนของน้ำเหลือง ลดการบวมได้

12) เลเซอร์กำลังสูงรักษาโรคอะไรได้บ้าง ?

กลุ่มแรก คือโรคที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดทั้งหลายในระบบกล้ามเนื้อ ,กระดูก ,ข้อต่อ ได้แก่

– กล้ามเนื้อ , เส้นเอ็น , ไขข้อ , บาดเจ็บอักเสบเคล็ดยอก

– ทุกระยะของโรคทั้งเฉียบพลัน และกึ่งเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง ทั้งที่เป็นตามบริเวณคอ , บ่า , ไหล่ , แขน , ศอก , มือ , หลัง , เอว , เข่า , เท้า , ยิ่งมีอาการบวมแดง ฟกช้ำ ยิ่งได้ผลดี

– เอ็นข้อไหล่อักเสบ ไหล่ติดระยะเริ่มแรก

– เอ็นข้อศอก , เอ็นข้อมืออักเสบ

– นิ้วล็อค

– เอ็นร้อยหวายอักเสบ

– พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ

– ข้อเข่าเสื่อม , กล้ามเนื้อ , เอ็น , พังผืดรอบเข่าอักเสบ

– มือชาจากโรคอุโมงค์ข้อมือ

– ข้อนิ้วมือเสื่อมอักเสบ

– ปวดเอว , กล้ามเนื้อเอวอักเสบ

– อาการปวดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาททั้งที่คอ และเอว

– อาการปวดบวมอักเสบรอบแผลหลังการผ่าตัด

– อาการปวดศีรษะที่มีสาเหตุมาจากความตึงตัวของกล้ามเนื้อคอ ท้ายทอย

กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับเส้นประสาทโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่จะมาด้วย อาการปวดและชา ได้แก่

– มือเท้าชาจากปลายเส้นประสาทอักเสบเนื่องจากโรคเบาหวาน

– มือเท้าชาจากปลายเส้นประสาทอักเสบเนื่องจากผลแทรกซ้อน จากยา เคมีบำบัด

– ปวดแขนขาในระยะฟื้นหลังจากบาดเจ็บเส้นประสาท

– ปวดชา กล้ามเนื้อยึดเกร็งในผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตจาก โรคหลอดเลือดสมอง หรือจากการบาดเจ็บไขสันหลัง

– อาการปวดประสาทจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5

– อาการปวดประสาทจากโรคงูสวัด

กลุ่มที่สาม คือ กลุ่มโรคที่มีอาการบวมของแขนขา ได้แก่

– อาการบวมช้ำจากการบาดเจ็บ รวมทั้งเลือดออกใต้ผิว

– อาการบวมแขนจากต่อมน้ำเหลืองอุดตันหลังจากการผ่าตัดเต้านม และต่อมน้ำเหลือง

กลุ่มที่สี่ คือ แผลจากสาเหตุต่าง ๆ

– แผลบาดเจ็บ

– แผลเบาหวาน

– แผลกดทับ

– แผลจากโรคหลอดเลือด เป็นต้น


สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด (อาคาร3) ชั้น 4 โทร.02-530-2556 ต่อ 3420 , 3421

แพทย์ของเรา

ทั้งหมด

นพ.จรัณพร โสตถิพันธุ์ (ว.36749)

-

แพทย์เฉพาะทางด้านสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

ข้อมูลแพทย์